วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคและทักษะกีฬาบาสเกตบอล



ข้อ 1 คำจำกัดความ (Definitions) และลักษณะการเล่นบาสเกตบอล

1.1 เกมการแข่งขันขันบาสเกตบอล (Basketball game)
บาสเกตบอลเป็นการเล่นที่ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมมีผู้เล่น 5 คน จุดมุ่งหมายของแต่ละทีมคือ ทำคะแนนโดย
การโยนลูกบอลให้ลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม และป้องกันอีกฝ่ายหนึ่งไม่ให้ครอบครองบอลหรือทำคะแนน

1.2 ห่วงประตูฝ่ายตนเอง/ฝ่ายตรงข้าม (Basket : own/opponents’)
ฝ่ายรุกทำคะแนนโดยนำลูกบอลโยนให้ลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามและป้องกันห่วงประตูของฝ่ายตนเอง

1.3 การเคลื่อนที่ของลูกบอล (Ball movement)
ลูกบอลอาจจะถูกส่ง โยน ปัด กลิ้ง หรือเลี้ยงในทิศทางใด ๆ ก็ได้ ภายใต้ข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในกติกา

1.4 ผู้ชนะของเกมการแข่งกัน (Winner of a game)
เมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันของช่วงการเล่นที่ 4 หรือถ้าจำเป็นต้องต่อเวลาพิเศษ ทีมที่มีคะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ
ในเกมการแข่งขัน
ข้อ 2 ขนาดสนามและขนาดของเส้น (Court and line dimensions)

2.1 สนามแข่งขัน (Playing Court)
สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นผิวเรียบ แข็งปราศจากสิ่งกีดขวางที่ทำให้เกิดความล่าช้าสำหรับการแข่งขันซึ่งจัด
โดยสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ ขนาดสนามที่จะสร้างขึ้นใหม่ต้องยาว 28 เมตรและกว้าง 15 เมตร โดยวัดจากขอบใน
ของเส้นเขตสนาม สำหรับการแข่งขันอื่นทั้งหมดที่สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติรับรอง เช่น สหพันธ์ระดับโซน หรือสมาคม
แห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเห็นชอบให้ใช้สนามขนาดเล็กสุดในการแข่งขันได้ คือ ยาว 26 เมตรและกว้าง 14 เมตร






2.2 เพดาน (Ceiling)
ความสูงของเพดานหรือสิ่งกีดขวางต้องไม่ต่ำกว่า 7 เมตร

2.3 แสงสว่าง (Lighthing)
พื้นผิวของสนามควรจะเหมือนกันและมีแสงสว่างเพียงพอ แสงสว่างต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นของ
ผู้เล่นและของผู้ตัดสิน
2.4 เส้น (Lines)
เส้นทุกเส้นต้องเป็นสีเดียวกัน (ควรเป็นสีขาว) กว้าง 5 เซนติเมตร และมองเห็นได้อย่างชัดเจน

2.4.1 เส้นหลังและเส้นข้าง (End lines and side-lines)
สนามจะต้องถูกจำกัดโดยเส้นหลัง 2 เส้น (ด้านกว้างของสนาม) และเส้นข้าง 2 เส้น (ด้านยาวของสนาม) เส้นไม่เป็นส่วนหนึ่ง
ของสนาม สนามต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวาง รวมถึงที่นั่งของทีมอย่างน้อย 2 เมตร

2.4.2 เส้นกลาง (Center line)
เส้นกลาง ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังที่จุดกึ่งกลางของเส้นข้างต้องมีส่วนยื่นออกไป 15 เซนติเมตร จากเส้นข้างแต่ละด้าน

2.4.3 เส้นโยนโทษ (Free-throw lines) พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที (Restricted areas) และเขตโยนโทษ (Free-throw lanes)
เส้นโยนโทษ ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังแต่ละด้าน ห่างจากขอบในของเส้นหลัง 5.80 เมตร และมีความยาว 3.60 เมตร
จุดกึ่งกลางของเส้นโยนโทษที่สมมุติขึ้นเป็นแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้ง 2 เส้น พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ต้องเป็นพื้นที่
ในสนามที่กำหนดโดยเส้นหลัง เส้นโยนโทษ และเส้นซึ่งเริ่มต้นจากเส้นหลังห่าง 3 เมตร จากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังและขอบนอก
ของเส้นโยนโทษ เส้นจะแยกออกจากเส้นหลัง เส้นเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ภายในของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที
ีอาจจะทาสีก็ได้แต่ต้องเป็นสีเดียวกับสีที่ทาวงกลมกลางสนาม เขตโยนโทษเป็นพื้นที่ที่ต่อออกจากพื้นที่เขตกำหนด 3 นาที
เข้าไปในสนามโดยขีดเส้นเป็นครึ่งวงกลมรัศมี 1.80 เมตร ใช้จุด กึ่งกลางของเส้นโยนโทษเป็นจุดศูนย์กลาง เขตช่องยืนตามแนว
เขตโยนโทษ เป็นช่องที่ให้ผู้เล่นยืนระหว่างการโยนโทษ จะต้องเขียนเส้นลักษณะ

2.4.4 วงกลมกลาง (Center circle)
วงกลมกลางต้องเขียนไว้กลางสนามรัศมี 1.80 เมตร โดยวัดจากขอบนอกของเส้นรอบวง ถ้าทาสีภายในพื้นที่วงกลมต้องเป็น
สีเดียวกับสีที่ทาพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที

2.4.5 พื้นที่ยิงประตู 3 คะแนน (Three-point field goal area)
พื้นที่ยิงประตู 3 คะแนนของทีมจะเป็นพื้นที่ทั้งหมดของสนามยกเว้นพื้นที่ที่ใกล้ห่วงประตูฝ่าย ตรงข้ามซึ่งถูกจำกัดโดยสิ่งต่อไปนี้
- เส้นขนาน 2 เส้น จากเส้นหลังไปถึงปลายเส้นโค้งครึ่งวงกลมรัศมี 6.25 เมตร จากจุดนี้ตั้งฉากกับจุดศูนย์กลางของห่วงประตู
ของฝ่ายตรงข้าม ระยะห่างถึงขอบในของจุดกึ่งกลางเส้นหลัง 1.575 เมตร
- รูปครึ่งวงกลมมีรัศมี 6.25 เมตร จากจุดศูนย์กลางถึงขอบนอก (ซึ่งเป็นจุดเดียวกัน) ลากไปต่อกับเส้นขนาน

2.4.6 พื้นที่เขตที่นั่งของทีม (Team bench areas)
พื้นที่เขตที่นั่งของทีมต้องอยู่นอกสนามด้านเดียวกับโต๊ะบันทึกคะแนน ที่นั่งของทีมเป็นดังต่อไปนี้
-แต่ละพื้นที่เขตที่นั่งของทีมจะถูกกำหนดโดยเส้นที่ต่อออกจากเส้นหลัง ยาวอย่างน้อย 2 เมตร และอีกเส้นหนึ่งยาวไม่น้อยกว่า
2 เมตร ห่างจากเส้นสนาม 5 เมตร

2.5 ตำแหน่งของโต๊ะเจ้าหน้าที่และที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่น
การจัดที่นั่งของทีม และที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแข่งขันทุกครั้งที่จัดโดยสหพันธ์บาสเกตบอล
นานาชาติ และได้แนะนำให้กระทำสำหรับการแข่งขันอื่น ๆ ด้วย

สำหรับรายละเอียดที่อธิบายถึงอุปกรณ์บาสเกตบอล ให้ดูในภาคผนวกเกี่ยวกับอุปกรณ์บาสเกตบอล
3.1 กระดานหลัง และสิ่งยึดกระดานหลัง (Backboards and backboard supports)
3.1.1 กระดานหลังที่สร้างขึ้นต้องทำด้วยวัสดุโปร่งใส (เลือกใช้กระจกนิรภัย) แผ่นเดียวกันตลอด ถ้าทำด้วยวัสดุอื่นที่ไม่
โปร่งใสจะต้องทาพื้นสีขาว

3.1.2 ขนาดความกว้าง ยาว และหนาของกระดานหลังตามแนวนอนจะเป็น 1.80 เมตร และตามแนวตั้ง 1.50 เมตร

3.1.3 เส้นทุกเส้นบนกระดานหลังจะต้องเขียนดังต่อไปนี้
- เป็นสีขาว ถ้ากระดานเป็นวัตถุโปร่งใส
- เป็นสีดำ ถ้ากระดานหลังเป็นวัสดุอื่น
- เส้นมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร
เพิ่มเติม หน้ากระดานเหนือห่วงให้เขียนดังนี้
       เขียนรูปสี่เหลี่ยมมุมมฉากด้วยเส้นกว้าง 5 ซ.ม ตรงหลังห่วงประตู วัดริมนอกด้านขวางยาว 59 ซ.ม และด้านตั้งยาว 45 ซ.ม
ริมบนสุดของเส้นด้านฐานอยู่ในระดับเดียวกับขอบห่วง


3.1.4 พื้นผิวหน้าของกระดานหลังจะต้องเรียบ

3.1.5 กระดานหลังต้องติดยึดอย่างมั่นคง
- ที่เส้นหลังแต่ละด้านของสนามแข่งขัน โดยติดตั้งสิ่งยึดกระดานให้ตั้งฉากกับพื้น ขนานกับเส้นหลัง
- จุดกึ่งกลางของพื้นผิวด้านหน้าของกระดานหลัง ทิ้งดิ่งลงมายังพื้นสนามแข่งขัน จะสัมผัสจุดบนพื้น ซึ่งมีระยะห่าง
1.20 เมตร จากจุดกึ่งกลางของขอบในของเส้นหลังแต่ละเส้น

3.1.6 เบาะหุ้มกระดานหลัง

3.1.7 สิ่งยึดกระดานหลัง
- ด้านหน้าของสิ่งยึดกระดานหลังที่สร้างขึ้น (หุ้มเบาะตลอด) ต้องอยู่ห่างจากขอบของเส้นหลังอย่างน้อย 2 เมตร มีสีสดใส
แตกต่างจากพื้นหลัง เพื่อให้ผู้เล่นมองเห็นได้อย่างชัดเจน
- สิ่งยึดกระดานหลังต้องติดตั้งอย่างมั่นคงบนพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้เคลื่อนที่เมื่อมีแรงกระแทรก
- สิ่งยึดกระด้านหลังที่อยู่ด้านหลังต้องหุ้มเบาะต่ำกว่าพื้นผิวของสิ่งยึดมีระยะห่างจากด้านหน้าของกระดานหลัง 1.20 เมตร
ความหนาของเบาะหุ้ม 5 เซนติเมตร และต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับเบาะหุ้มกระดานหลัง
- สิ่งยึดกระดานหลังทั้งหมดต้องหุ้มเบาะเต็มพื้นที่ฐานของสิ่งยึดกระดานหลังสูงจากพื้นอย่างน้อย 2.15 เมตร บนสิ่งยึดด้าน
ข้างสนาม มีความหนาเบาะหุ้ม 10 เซนติเมตร

3.1.8 เบาะหุ้มกระดานหลังที่สร้างขึ้นจะป้องกันแขนมือจากการปัด


3.2 ห่วงประตู (Baskets)
ห่วงประตูต้องประกอบด้วย ห่วงและตาข่าย

3.2.1 ห่วง (The Rings) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- วัสดุต้องเป็นเหล็กกล้าแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร ทาด้วยสีส้ม
- โลหะที่ใช้ทำห่วงจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในอย่างน้อย 16 เซนติเมตร และไม่เกิน 2.0 เซนติเมตรพร้อมด้วยที่ยึดตาข่าย
ด้านล่างสำหรับเกี่ยวตาข่ายในลักษณะป้องกันนิ้วมือไปเกี่ยวจากการปัดซึ่งเป็นการป้องกันการยิงประตู
- ตาข่ายจะผูกติดกับห่วงแต่ละด้านในตำแหน่งที่ต่างกัน 12 จุด มีระยะห่างเท่ากันรอบห่วง การผูกติดกันของตาข่ายจะต้อง
ไม่คมหรือมีช่องว่างที่นิ้วมือสามารถเขาไปเกี่ยวได้
- ห่วงจะต้องยึดติดกับโครงสร้างที่ยึดกระดานหลังโดยไม่ทำให้เกิดแรงส่งตรงไป ยังห่วงซึ่งไม่สามารถทำให้กระดานหลังสั่น
ด้วยตัวของมันเองดังนั้น จะไม่เป็นการปะทะโดยตรงของห่วงระหว่างสิ่งค้ำที่เป็นโลหะกับกระดานหลัง (กระจกหรือวัสดุโปร่งใสอื่น)
อย่างไรก็ตาม ช่องว่างจะต้องแคบพอเพื่อป้องกันนิ้วมือเข้าไปเกี่ยว
- ขอบบนสุดของห่วงแต่ละข้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งตามแนวนอน สูง 3.05 เมตร จากพื้นสนามซึ่งกระดานหลังมีความสูง
เท่ากันทั้ง 2 ด้าน
- จุดที่ใกล้ที่สุดของขอบในของห่วงจะต้องห่าง 15 เซนติเมตร จากด้านหน้าของกระดานหลัง

3.2.2 ห่วงที่มีแรงอัด อาจจะใช้ในการแข่งขันได้

3.2.3 ตาข่าย (The nets) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- เป็นด้ายสีขาว แขวนติดกับห่วงและมีความฝืดเพื่อทำให้ลูกบอลผ่านห่วงประตูช้ากว่าปกติ ตาข่ายต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า
40 เซนติเมตร และไม่เกิน 45 เซนติเมตร
- ตาข่ายแต่ละข้างต้องมีห่วง 12 จุด สำหรับเกี่ยวติดกับห่วง
- ส่วนบนของตาข่ายต้องยืดหยุ่นได้เพื่อป้องกันสิ่งต่อไปนี้
- ตาข่ายเกี่ยวติดห่วง สะบัดขึ้นไปบนห่วงทำให้เกิดปัญหาตาข่ายเกี่ยวติดห่วง
- ลูกบอลค้างในตาข่ายหรือกระดอนออกจากตาข่าย

3.3 ลูกบาสเกตบอล (Basketballs)

3.3.1 ลูกบอล ต้องเป็นรูปทรงกลมและมีสีส้ม ซึ่งได้รับการรับรอง มี 8 ช่องกลีบ ตามแบบเดิม กรุและเย็บเชื่อต่อกัน

3.3.2 ผิวนอกต้องทำด้วยหนัง หนังที่เป็นสารสังเคราะห์ ยาง หรือวัสดุสารสังเคราะห์

3.3.3 ลูกบอลจะขยายตัวเมื่อสูบลมเข้าไป ถ้าปล่อยลงสู่พื้นสนามจากความสูงโดยประมาณ 1.80 เมตร วัดจากส่วนล่าง
ของลูกบอล ลูกบอลจะกระดอนขึ้นสูงวัดจากส่วนบนสุดจากของลูกบอลระหว่าง 1.20 เมตร ถึง 1.40 เมตร

3.3.4 ความกว้างของช่องกลีบที่เชื่อมต่อกันของลูกบอลต้องไม่มากกว่า 0.635 เซนติเมตร

3.3.5 ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 74.9 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 78 เซนติเมตร (ลูกบอลเบอร์ 7) จะต้องมีน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่า 567 กรัม และไม่มากกว่า 650 กรัม

3.3.6 ทีมเหย้า (The home team) ต้องเตรียมลูกบอลที่ใช้แล้วโดยได้รับการยินยอมจากผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 ลูก ผู้ตัดสินต้อง
พิจารณาเลือกลูกบอลที่ถูกต้องเพียงลูกเดียว ถ้าลูกบอลทั้ง 2 ลูก (ing team) หรือเลือกลูกบอลที่ใช้ในการอบอุ่นร่างกายมา
ใช้แข่งขันก็ได้

3.4 อุปกรณ์เทคนิค (Technical equipment)
อุปกรณ์เทคนิคต่อไปนี้ต้องเตรียมโดยทีมเหย้าและต้องดำเนินการ โดยผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่โต๊ะ
3.4.1 นาฬิกาแข่งขันและนาฬิกาจับเวลา (Game clock and stopawtch)

3.4.1.1 นาฬิกาแข่งขันจะต้องใช้สำหรับช่วงการเล่นและช่วงพักการแข่งขัน และจะต้องติดตั้งให้ทุกคนที่เกี่ยวกับเกมการ
แข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วย

3.4.1.2 นาฬิกาจับเวลา (ไม่ใช่นาฬิกาแข่งขัน) จะต้องใช้สำหรับการจับเวลานอก

3.4.1.3 ถ้านาฬิกาแข่งขันติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางเหนือสนามแข่งขัน ต้องมีนาฬิกาแบบเดียวกันเพิ่มขึ้นมาแต่ละด้านของสนาม
ด้านหลัง สูงพอประมาณ สามารถที่จะให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วย
นาฬิกาแข่งขันที่เพิ่มนี้ จะต้องแสดงเวลาการแข่งขันที่เหลือ

3.4.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที (24 second device)

3.4.2.1 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ต้องมีควบคุมเครื่องและแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาที
- ไม่แสดงตัวเลขบนเครื่องจับเวลา 24 วินาที เมื่อไม่มีทีมใดครอบครองบอล
- ความสามารถในการหยุดและเดินนับถอยหลังอย่างต่อเนื่องเมื่อเครื่องจับเวลา 24 วินาที เดินเวลาต่อจากที่ได้หยุดเวลาไว้

3.4.2.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ต้องติดตั้งดังต่อไปนี้
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 2 เครื่องตั้งอยู่ข้างบนเหนือกระดานหลังแต่ละข้าง มีระยะห่างระหว่าง 30 เซนติเมตร ถึง
50 เซนติเมตร
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 4 เครื่องให้ติดตั้งไว้ทั้ง 4 มุมของสนาม อยู่ห่างเส้นหลังแต่ละด้าน 2 เมตร
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 2 เครื่องให้ติดตั้งโดยการวางไว้ในแนวทแยงมุมตรงข้าม เครื่องหนึ่งวางทางด้านซ้ายของ
โต๊ะบันทึกคะแนน ซึ่งจะวางใกล้มุม เครื่องจับเวลา 24 วินาที ทั้ง 2 เครื่อง จะวางห่างจากเส้นแต่ละด้าน 2 เมตร และ
จากเส้นข้าง 2 เมตร

3.4.2.3 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ทุกเครื่องจะต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้วย

3.4.3 สัญญาณเสียง (Signals) ต้องกำหนดสัญญาณเสียงอย่างน้อย 2 ชุด ซึ่งมีเสียงแตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีเสียงดังมากพอ
- สัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลาแข่งขันและผู้บันทึกคะแนน
สัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดังอัตโนมัติเพื่อแจ้งการ สิ้นสุดเวลาการแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดังอัตโนมัต
ิเพื่อแจ้งการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ สัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนและผู้จับเวลา
แข่งขันต้องควบคุมด้วยมือ เพื่อดำเนินการแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบว่ามีการขอเวลานอก เปลี่ยนตัวและมีการต้องขออื่น ๆ เช่นหลัง
เวลาผ่านไป 50 วินาทีของการขอเวลานอก หรือสถานการณ์ข้อผิดพลาดที่แก้ไขได้
- อีกสัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลา 24 วินาที ซึ่งสัญญาเสียงดังอัตโนมัติเพื่อแสดงการสิ้นสุดช่วงเวลาการเล่น 24 วินาที
สัญญาณเสียงทั้ง 2 ชุด ต้องมีเสียงดังมากพอที่จะได้ยินภายใต้เสียงรบกวน หรือปรับเสียงให้ดังมากพอกับสภาพสิ่งแวดล้อม

3.4.4 ป้ายคะแนน (Scoreboard)
ต้องเป็นป้ายคะแนนที่ติดตั้งให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้วย
ป้ายคะแนนต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- เวลาการแข่งขัน
- คะแนน
- จำนวนของช่วงการเล่นปัจจุบัน
- จำนวนของเวลานอก

3.4.5 ใบบันทึกคะแนน (Scoresheet)
ใบบันทึกคะแนนจะต้องได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการเทคนิคโลกของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติซึ่งจะใช้สำหรับ
การแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ

3.4.6 ป้ายแสดงการฟาล์วของผู้เล่น (Player foul markers)
ต้องจัดเตรียมป้ายแสดงการฟาว์ลของผู้เล่นสำหรับผู้บันทึกคะแนน ป้ายต้องเป็นสีขาวพร้อมตัวเลขขนาดความยาว 20 เซนติเมตร
และกว้าง 10 เซนติเมตร และมีตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 5 (ตัวเลข 1 ถึง 4 เป็นสีดำ ตัวเลข 5 เป็นสีแดง)

3.4.7 อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีม (Team foul markers)
อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีมต้องเตรียมสำหรับผู้บันทึกคะแนน อุปกรณ์แสดงการฟาล์วต้องเป็นสีแดง กว้าง 20 เซนติเมตร
สูง 35 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และติดตั้งบนโต๊ะผู้บันทึก ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน
รวมถึงผู้ชมด้วย อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะใช้ได้โดยมีข้อแม้ว่าต้องมีสีที่เหมือนกัน และมีขนาด
ความกว้าง ยาวและหนาตามที่ ระบุไว้ข้างต้น

3.4.8 ป้ายแสดงจำนวนการฟาล์วทีม (Team foul indicator)
จะต้องมีป้ายที่เหมาะสมเพื่อแสดงตัวเลขจำนวนฟาล์วทีมถึงเลข 5 แสดงให้ทราบว่าทีมนั้นได้กระทำฟาล์วครบจำนวนที่จะต้อง
ถูกลงโทษ (กติกาข้อ 55 บทลงโทษของฟาล์วทีม)

3.4.9 เครื่องชี้ทิศทางการครอบครองบอลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้งานด้วยมือ ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน

3.5 เครื่องอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ
เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่กล่าวถึงจะต้องเตรียมสำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ
เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ชิงแชมป์โลก ชาย หญิง เยาวชนชาย เยาวชนหญิง ยุวชนชายและยุวชนหญิง ชิงแชมป์ทวีป
ชายหญิง เยาวชนชายและเยาวชนหญิง เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์สามารถใช้กับการแข่งขันระดับอื่นทั้งหมดได้

3.5.1 ผู้ชมทุกคนจะต้องนั่งห่างอย่างน้อย 5 เมตร จากขอบด้านนอกของเส้นเขตสนามแข่งขัน

3.5.2 พื้นสนามต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ทำด้วยไม้
- เส้นเขตสนาม กว้าง 5 เซนติเมตร
- เส้นเขตสนามรอบนอก กว้างอย่างน้อย 2 เมตรทาด้วยสีแตกต่างกันอย่างชัดเจน สีของเขตสนามรอบนอกควรจะเป็นสีเดียวกับ
วงกลมกลางและพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที

3.5.3 ต้องมีคนถูพื้นสนาม 4 คน โดย 2 คนทำหน้าที่แต่ละครึ่งของสนาม

3.5.4 กระดานหลังต้องทำด้วยกระจกนิรภัย

3.5.5 ผิวของลูกบอลต้องทำด้วยหนัง ฝ่ายจัดการแข่งขันต้องเตรียมลูกบอลอย่างน้อย 12 ลูก มีลักษณะและรายละเอียด
เหมือนกันสำหรับการฝึกซ้อมระหว่างการอบอุ่นร่างกาย

3.5.6 แสงสว่างเหนือสนามแข่งขันต้องมีความสว่างไม่น้อยกว่า 1,500 ลักซ์ ความสว่างนี้จะวัดเหนือพื้นสนามขึ้นไป 1.5 เมตร
แสงสว่างต้องตรงหลักเกณฑ์ในการถ่ายทอดโทรทัศน์

3.5.7 สนามแข่งขันต้องติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากโต๊ะบันทึกคะแนน สนามแข่งขัน
ที่นั่งของทีม และทุกคนเกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขัน รวมทั้งผู้ชมด้วย

3.5.7.1 ป้ายคะแนนขนาดใหญ่ 2 ชุด ติดตั้งที่ด้านหลังแต่ละด้านของสนาม
- ป้ายคะแนน ติดตั้งที่กึ่งกลางเหนือสนามขึ้นไป ไม่มีความจำเป็นต้องงดใช้ป้ายคะแนน 2 ชุด
- แผงควบคุมสำหรับนาฬิกาแข่งขันต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข แยกแผงควบคุมสำหรับผู้จับเวลาแข่งขันและผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนนออกจากกัน
- ป้ายคะแนนต้องประกอบด้วยตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังของนาฬิกา พร้อมสัญญาณเสียงดังมากพอซึ่งจะดังอัตโนมัติ
เมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- นาฬิกาแข่งขันและคะแนนที่แสดงในป้ายคะแนน มีความสูงอย่างน้อย 30 เซนติเมตร
- นาฬิกาทั้งหมดต้องเดินเป็นจังหวะเดียวกันและแสดงจำนวนของเวลาที่เหลือตลอดเกมการแข่งขัน
- ระหว่าง 60 วินาทีสุดท้ายของแต่ละช่วงการเล่น หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ จำนวนของเวลาที่เหลือต้องแสดงเป็นวินาที และเป็น
1 ส่วน 10 ของวินาที
- เลือกนาฬิกาอีก 1 เรือน โดยผู้ตัดสินสำหรับเป็นนาฬิกาแข่งขัน
- ป้ายคะแนน ต้องแสดงสิ่งต่อไปนี้
- หมายเลขของผู้เล่นแต่ละคนและชื่อ-สกุลของผู้เล่น ถ้าสามารถแสดงได้
- คะแนนที่แต่ละทีมทำได้ และคะแนนของผู้เล่นแต่ละคนที่ทำให้ ถ้าสามารถแสดงได้
- จำนวนครั้งของการฟาล์วทีมจาก 1 ถึง 5 (สามารถหยุดที่ตัวเลข 5)
- ตัวเลขของช่วงการเล่น จาก 1 ถึง 4 และ E สำหรับช่วงต่อเวลาพิเศษ
- ตัวเลขของเวลานอกจาก 0 ถึง 3

3.5.7.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที พร้อมนาฬิกาแข่งขันที่ทำใหม่ตามแบบของเดิม และแสงสีแดงสดใสจะติดตั้งเหนือขึ้นไป
และอยู่ด้านหลังกระดานหลังทั้ง 2 ข้างมีระยะห่างระหว่าง 30 เซนติเมตร
- เครื่องจับเวลา 2 วินาที ต้องเป็นแบบอัตโนมัติ ตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาที
และพร้อมด้วยสัญญาณเสียงดังมากพอโดยดังอัตโนมัติ เมื่อสิ้นสุดเวลาการเล่น 24 วินาที
- เครื่องจับเวลา 24 วินาที จะต้องจะต่อเชื่อมกับนาฬิกาการแข่งขันเรือนหลัก
- เมื่อนาฬิกาแข่งขันเรือนหลักหยุดเดิน เครื่องนี้จะหยุดเดินด้วย
- เมื่อนาฬิกาแข่งขันเรือนหลักเดินต่อ เครื่องนี้เริ่มเดินจากการควบคุมด้วยมือของผู้ควบคุม
- สีของตัวเลขของเครื่องจับเวลา 24 วินาที และนาฬิกาแข่งขันที่ทำขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมจะต้องแตกต่างกัน
- นาฬิกาการแข่งขันที่ทำขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมจะต้องมีรายละเอียดตรงกัน
- หลอดไฟที่อยู่ข้างบนด้านหลังกระดานหลังแต่ละข้างต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
-แสงสีแดงสดใสเกิดขึ้นพร้อมกับนาฬิกาแข่งขันเรือนหลัก เมื่อสัญญาณเสียงดังขึ้นสำหรับสิ้นสุดเวลาการแข่งขันของช่วงการเล่น
หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- แสงสีแดงสดใสเกิดขึ้นพร้อมกับเครื่องจับเวลา 24 วินาที เมื่อสัญญาณเสียงดังขึ้น สำหรับการสิ้นสุดเวลาการเล่น 24 วินาที

4.1 ผู้ตัดสิน (Officials) จะมีผู้ตัดสิน (Referee) และผู้ช่วยตัดสิน (Umpire)
มีผู้ช่วยเป็นเจ้าหน้าที่โต๊ะและกรรมการเทคนิคสิ่งที่เพิ่มในปัจจุบันนี้คือ ถ้าเป็นการแข่งขันของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ
คณะกรรมการโซน หรือสมาคมแห่งประเทศ เป็นผู้ที่มีอำนาจประยุกต์ใช้ระบบผู้ตัดสิน 3 คน นั่นคือ ผู้ตัดสิน 1 คน และผู้ช่วยผู้ตัดสิน
2 คน

4.2 เจ้าหน้าที่โต๊ะ (Table officials)
จะมีผู้บันทึกคะแนนผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน ผู้จับเวลาแข่งขัน และผู้จับเวลา 24 วินาที

4.3 กรรมการเทคนิค (Commissioner) อาจร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วย
ซึ่งนั่งอยู่ระหว่างผู้บันทึกคะแนนกับผู้จับเวลาแข่งขันมีหน้าที่ระหว่างเกมการแข่งขัน คือคอยชี้แนะเกี่ยวกับงานของเจ้าหน้าที่โต๊ะ
รวมถึงผู้ตัดสินและผู้ช่วยสินผู้ตัดสิน เพื่อให้เกมการแข่งขันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

4.4 เป็นการสุดวิสัยที่จะกำหนดว่าผู้ตัดสินของแต่ละเกมการแข่งขันจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรที่ส่งทีม
เข้าร่วมแข่งขันในสนาม

4.5 ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่โต๊ะ หรือกรรมการเทคนิค จะควบคุมดูแลเกมการแข่งขันให้สอดคล้องกับกติกา ไม่มีอำนาจใด ๆ
ที่จะตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา

4.6 ชุดแต่งกายของผู้ตัดสิน ประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตสีเทากางเกงขายาวสีดำ รองเท้าบาสเกตบอลสีดำ และถุงเท่าสีดำ

4.7 สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เจ้าหน้าที่โต๊ะควรจะแต่งกายให้เป็นแบบเดียวกัน

ผู้ตัดสินจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ :
5.1 ต้องตรวจสอบและรับรองอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ระหว่างการแข่งขัน

5.2 ต้องกำหนดนาฬิกาแข่งขัน เครื่องจับเวลา 24 วินาที นาฬิกาจับเวลา และยอมรับเจ้าหน้าที่โต๊ะทุกคนด้วย

5.3 ต้องไม่อนุญาตให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งสวมใส่อุปกรณ์ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บ

5.4 ดำเนินการเล่นลูกกระโดดที่วงกลมกลางสนามในการเริ่มการแข่งขัน ช่วงการเล่นที่ 1 ช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงต่อเวลาพิเศษ

5.5 มีอำนาจสั่งหยุดเกมการแข่งขันได้เมื่อเห็นว่ามีสถานการณ์อันควรแก่เหตุเกิดขึ้น

5.6 มีอำนาจตัดสินใจปรับให้ทีมแพ้ในเกมการแข่งขันนั้นถ้าทีมปฎิเสธการแข่งขันหลังจากสั่งให้ทีมแสดงการกระทำการขัดขวาง
ไม่ให้เริ่มการแข่งขัน

5.7 ต้องตรวจใบบันทึกคะแนนอย่างละเอียด เมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงขันสำหรับช่วงการเล่นที่ 2 ช่วงการเล่นที่ 4
และช่วงต่อเวลาพิเศษ (ถ้ามี)หรือเวลาใดก็ได้ที่จำเป็นต้องรับรองคะแนน

5.8 ต้องตัดสินใจครั้งสุดท้ายไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม ถ้าจำเป็นหรือเมื่อผู้ตัดสินไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจ อาจจะปรึกษากับผู้ช่วยผู้ตัดสิน
กรรมการเทคนิค และ/หรือเจ้าหน้าที่โต๊ะ

5.9 มีอำนาจตัดสินใจเหตุการณ์ ใด ๆ ก็ได้ที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกา


6.1 ผู้ตัดสินมีอำนาจในการตัดสินสำหรับการลงละเมิดกติกาทั้งภายในและภายนอกสนาม ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะผู้บันทึกคะแนน
ที่นั่งของทีมและพื้นที่ด้านหลังเส้น

6.2 อำนาจของผู้ตัดสิน จะเริ่มเมื่อผู้ตัดสินมาถึงสนาม ซึ่งจะเป็นเวลา 20 นาที ก่อนการแข่งจะเริ่มตามกำหนดเวลาและสิ้นสุดเกม
การแข่งขันซึ่งรับรองการแข่งขันโดยผู้ตัดสินลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนน ทำให้เวลาการแข่งขันสิ้นสุดการดำเนินการ
ของผู้ตัดสินและการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเกมการแข่งขันนั้นสิ้นสุดลงด้วย

6.3 พฤติกรรมที่ผิดวิสัยนักกีฬาของผู้เล่น ผู้ฝึกสอนผู้ช่วยผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีม ที่เกิดขึ้นก่อน 20 นาที ก่อนการแข่งขันจะเริ่มตาม
กำหนดเวลา หรือสิ้นสุดเกมการแข่งขันแล้ว การยอมรับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ผู้ตัดสินต้องบันทึกใบบันทึกคะแนนก่อนสัญญาณเสียงเริ่ม
การแข่งขัน กรรมการเทคนิคหรือผู้ตัดสินต้องส่งรายงานอย่างละเอียดให้กับฝ่ายจัดการแข่งขันต่อไป

6.4 การประท้วงโดยคนใดคนหนึ่งของทีม กรรมการเทคนิคหรือผู้ตัดสินดำเนินการรายงานเหตุการณ์ถึงฝ่ายจัดการแข่งขันภายใน
1 ชั่วโมง หลังสิ้นสุดเวลาการเล่นของเกมการแข่งขันนั้น

6.5 ถ้าจำเป็นต้องต่อเวลาพิเศษ ซึ่งเป็นผลมาจากการโยนโทษของการกระทำฟาล์ว ก่อนหรือเวลาใกล้เคียงกับสิ้นสุดเวลาการเล่นของช่วง
การเล่นที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาพิเศษในขณะนั้นการกระทำฟาล์วทั้งหมดเป็นการกระทำฟาล์วหลังเสียงสัญญาณ การสิ้นสุดเวลา
การแข่งขันก่อนการโยนจะต้องไตร่ตรองถึงผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นการกระทำฟาล์วระหว่างช่วงพักการแข่งขันและลงโทษให้ ้สอดคล้องกัน

6.6 ไม่มีผู้ตัดสินคนใดที่จะมีอำนาจยกเลิกหรือสอบถามการตัดสินที่กระทำโดยผู้ตัดสินอีกคนภายใต้เงื่อนไขกำหนดไว้ในกติกา


7.1 คำจำความ (Definitions)
การทำผิดระเบียบหรือฟาล์วทั้งหมดที่กระทำโดยผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีม เป็นการละเมิดกติกา

7.2 วิธีการปฏิบัติ (Procedure)

7.2.1 เมื่อมีการกระทำผิดระเบียบ (Violation) หรือ การฟาล์ว (Foul) ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีด และในเวลาเดียวกันให้สัญญาณหยุด
เวลาการแข่งขัน ซึ่งทำให้เกิดบอลตาย (ดูคู่มือผู้ตัดสินในหัวข้อสัญญาณและวิธีปฏิบัติ)

7.2.2 ผู้ตัดสินต้องไม่เป่านกหวีดหลังจากการโยนโทษหรือการยิงประตูเป็นผล หรือเมื่อเป็นบอลดี

7.2.3 ภายหลังการฟาล์วหรือเกิดการเล่นลูกกระโดดผู้ตัดสินจะต้องเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในสนามกันเสมอ

7.2.4 สำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติ ถ้าจำเป็นต้องสื่อสารกันด้วยคำพูด เพื่อให้สิ่งที่ตัดใจไปนั้นชัดเจนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษ


ถ้าผู้ตัดสินบาดเจ็บไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใน 10 นาทีของเหตุการณ์นั้น
การแข่งขันจะเริ่มต่อไปด้วยผู้ตัดสินที่เหลือเพียงคนเดียว จนกว่าจะสิ้นสุดเกมการแข่งขัน นอกเสียจากว่าเปลี่ยนตัวผู้ตัดสินแทน
ผู้ตัดสินที่บาดเจ็บ ภายหลังได้ปรึกษากับกรรมการเทคนิค ซึ่งผู้ตัดสินที่เหลือจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเปลี่ยนตัวผู้ตัดสิน

9.1 ผู้บันทึกคะแนน จะบันทึกในใบบันทึกคะแนน ดังต่อไปนี้ ( 5 คนแรก) และผู้เล่นสำรองทั้งหมดซึ่งเข้าร่วมการแข่งขัน
เมื่อมีการละเมิดกติกาเกี่ยวกับผู้เล่น 5 คนแรก ซึ่งเริ่มเกมการแข่งขัน การเปลี่ยนตัวหรือเปลี่ยนหมายเลขของผู้เล่น
ผู้บันทึกคะแนนจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่อยู่ใกล้ทราบทันทีหลักจากการละเมิดนั้นถูกค้นพบ
- บันทึกผลของคะแนนตามลำดับเหตุการณ์ และบันทึกการยิงประตูและการโยนโทษ
- บันทึกการฟาล์วบุคคลและฟาล์วเทคนิคของผู้เล่นแต่ละคน ผู้บันทึกจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีเมื่อมีผู้เล่นฟาล์วครั้งที่ 5
โดยในทำนองเดียวกันจะต้องบันทึกฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอนแต่ละคนและต้องแจ้งให้ ผู้ตัดสินทราบทันทีเมื่อผู้ฝึกสอนต้องออกจาก
การแข่งขัน

9.2 ผู้บันทึกคะแนน ต้องปฏิบัติดังนี้
- แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบเมื่อมีการขอเวลานอกในโอกาสที่เหมาะสมเมื่อทีมร้องขอเวลานอก บันทึกเวลานอกและแจ้งให้ผู้ฝึกสอนทราบ
โดยผ่านผู้ตัดสิน เมื่อผู้ฝึกสอนมีเวลานอกเหลืออยู่ในช่วงการเล่นนั้น
- แสดงจำนวนครั้งการกระทำฟาล์วของผู้เล่นแต่ละคนแสดงที่ริมโต๊ะของผู้บันทึก คะแนนด้านใกล้กับที่นั่งของทีมในขณะเป็นบอลดี
เป็นการกระทำฟาล์วครั้งที่ 4 ของทีม ไม่ว่าจะเป็นฟาล์วบุคคลหรือฟาล์วเทคนิคซึ่งกระทำโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของ ทีมในช่วง
การเล่นนั้น
- เปลี่ยนตัวผู้เล่นให้ถูกต้อง
- ให้สัญญาณเสียงเฉพาะเมื่อเกิดบอลตายและก่อนที่จะกลับเป็นบอลดีอีกครั้ง สัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนต้องไม่ทำให้นาฬิกา
แข่งขันหยุดเดิน หรือเกมการแข่งขันหยุดซึ่งไม่เป็นสาเหตุให้เกิดบอลตาย

9.3 ผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน ต้องควบคุมป้ายคะแนน และมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บันทึกคะแนน ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างป้ายคะแนน
กับผู้บันทึกคะแนน ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ ผู้บันทึกคะแนนต้องยึดใบบันทึกคะแนนเป็นหลัก และต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกัน

9.4 สิ่งต่อไปนี้เป็นข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่บันทึกคะแนนตามลำดับลงไปในบันทึกคะแนน
- ยิงประตูได้ 3 คะแนน แต่บันทึก 2 คะแนน
- ยิงประตูได้ 2 คะแนน แต่บันทึกเพิ่มเป็น 3 คะแนน
คะแนนจะต้องรอจนกว่าเกิดบอลตายครั้งแรกก่อนจึงให้สัญญาณเสียงแจ้งผู้ตัดสินทราบเพื่อสั่งหยุดเกมการแข่งขัน ถ้าค้นพบ
ข้อผิดพลาดหลังสัญญาณเสียงของนาฬิกาแข่งขันสัญญาณการสิ้นสุดการแข่งขัน ใบบันทึกคะแนนจะต้องถูกตรวจสอบโดยผู้ตัดสิน
ก่อนผู้ตัดสินจะลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนนผู้ตัดสินต้องแก้ไขข้อผิดพลาด และถ้าเป็นไปได้ก็แก้ไขผลการแข่งขันตามด้วย
ถ้าหากเกิดการผิดพลาดจริง ถ้าค้นพบข้อผิดพลาดหลังจากใบบันทึกคะแนนถูกลงลายมือชื่อโดยผู้ตัดสินแล้ว ข้อผิดพลาดไม่อาจ
แก้ไขได้ ผู้ตัดสินต้องส่งรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อฝ่ายจัดการแข่งขัน

10.1 ผู้จับเวลาแข่งขันต้องจัดเตรียมนาฬิกาแข่งขันและนาฬิกาจับเวลา และต้อง
- บันทึกเวลาในการแข่งขันและเวลาที่หยุดไว้ภายใต้เงื่อนไขของกติกา
- แจ้งให้ทีมและผู้ตัดสินทราบเกี่ยวกับเวลา 3 นาทีก่อนเริ่มการแข่งขันในช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 3
- เริ่มจับเวลานอกและให้สัญญาณเสียง เมื่อเวลาผ่านไป 50 วินาทีของการให้เวลานอก
- รับรองสัญญาณเสียงซึ่งต้องดังมากพอ และดังอย่างอัตโนมัติเมื่อเวลาการแข่งขันสิ้นสุดลง สำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
ถ้าสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันเกิดขัดข้องหรือไม่ดังพอ ผู้จับเวลาแข่งขันจะต้องใช้วิธีการใดก็ได้แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันที
สัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันเป็นสัญญาณที่ทำให้เกิดบอลตาย และนาฬิกาแข่งขันหยุดเดิน แต่อย่างไรก็ตาม
สัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันไม่ทำให้เกิดบอลตาย เมื่อลูกบอลลอยอยู่ในอากาศจากการยิงประตูหรือการโยนโทษ

10.2 นาฬิกาแข่งขันจะเริ่มเดิน เมื่อ
- ระหว่างการเล่นลูกกระโดด เมื่อลูกบอลถูกปัดอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นถูกกระโดด
- หลังจากการโยนโทษไม่เป็นผลและลูกบอลกลายเป็นบอลดี เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นในสนาม
- ระหว่างการส่งบอลเข้าเล่นเมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นในสนาม

10.3 นาฬิกาแข่งขันจะหยุดเดิน เมื่อ
- เวลาการเล่นสิ้นสุดสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- ผู้ตัดสินเป่านกหวีดในขณะที่เป็นบอลดี
- สัญญาณเสียงเครื่องจับเวลา 24 วินาที ดังขึ้นในขณะที่เป็นบอลดี
- การยิงประตูเป็นผล ทีมที่เสียคะแนนร้องขอเวลานอก
- การยิงประตูเป็นผลในช่วง 2 นาทีสุดท้ายของช่วงการเล่นที่ 4 และช่วงต่อเวลาพิเศษ


ผู้จับเวลา 24 วินาที ต้องจัดเตรียมเครื่องจับเวลา 24 วินาทีและดำเนินการดังต่อไปนี้
11.1 เริ่มเดินหรือเดินต่อ ทันทีที่ผู้เล่นครอบครองบอลดีในสนาม

11.2 หยุดและเริ่มใหม่ 24 วินาที จะไม่แสดงตัวเลขให้เห็น
- ผู้ตัดสินเป่านกหวีดสำหรับการฟาล์ว การเล่นลูกกระโดดหรือการทำผิดระเบียบ แต่ไม่ใช่บอลออกนอกสนาม
เมื่อทีมครอบครองบอลเดิมเป็นฝ่ายส่งบอลเข้าเล่น
- การยิงประตู เมื่อลูกบอลลงห่วงตาข่าย
- การยิงประตูเมื่อลูกบอลถูกห่วง
- เกมการแข่งขันหยุดเพราะการกระทำหน้าที่ต่อเนื่องซึ่งเป็นการกระทำของฝ่ายตรงข้ามกับทีมครอบครองบอล

11.3 24 วินาที เริ่มใหม่ และเดินต่อ ทันทีที่ฝ่ายตรงข้ามครอบครองบอลดีในสนาม การถูกลูกบอลโดยฝ่ายตรงข้าม
จะไม่เริ่ม 24 วินาทีใหม่ ถ้าทีมเดิมยังครอบครองบอลอยู่

11.4 24 วินาที หยุดแต่ไม่เริ่มใหม่ เมื่อทีมเดินก่อนหน้านี้ ครอบครองบอลอยู่ได้ส่งบอลเข้าเล่น ซึ่งเป็นผลมาจากสิ่งต่อไปนี้
- ลูกบอลออกนอกสนาม
- ฟาล์วคู่
- เกมการแข่งขันหยุดเพื่อชี้แจงเหตุผล ซึ่งเป็นผล ซึ่งเป็นผลทำให้ทีมเดิมครอบครองบอล

11.5 หยุดและไม่แสดงให้เห็น เช่น ไม่แสดงตัวเลข 24 วินาที ให้เห็นเมื่อทีมครองบอลและเวลาการแข่งขันเหลือน้อยกว่า 24 วินาที
ในแต่ละช่วงการเล่น หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ

12.1 คำจำความ (Definitions)

12.1.1 คุณสมบัติที่ถูกต้องในการเล่นนั้น เป็นการมอบอำนาจให้ฝ่ายจัดการแข่งขันเป็นผู้กำหนดเกี่ยวกับการแข่งขันซึ่งการกำหนด
เงื่อนไขข้อตกลงต่าง ๆ โดยเฉพาะการจำกัดอายุน่าจะนำมาพิจารณา

12.1.2 สมาชิกของทีมที่อยู่ในการแข่งขัน ต้องมีชื่อในใบบันทึกคะแนนก่อนเริ่มการแข่งขัน และเป็นระยะเวลานานพอ
ซึ่งเขาต้องไม่ถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ หรือฟาล์วครั้งที่ 5

12.1.3 ระหว่างการแข่งขัน สมาชิกของแต่ละทีมถ้าไม่เป็นผู้เล่น ก็จะเป็นผู้เล่นสำรอง

12.1.4 ผู้ติดตามทีม อาจจะนั่งในบริเวณที่นั่งของทีมได้ ถ้าหากเขามีหน้าที่พิเศษ เช่นผู้จัดทีม แพทย์ประจำทีมนักกายภาพบำบัด
นักสถิติ ล่าม เป็นต้น ผู้เล่นซึ่งกระทำฟาล์วครบ 5 ครั้ง จะกลายเป็นผู้ติดตามทีม

12.2 กฎ (Rule)
แต่ละทีม จะประกอบด้วย
- สมาชิกของทีมไม่เกิน 10 คน ที่มีคุณสมบัติถูกต้องในการแข่งขัน
- สมาชิกของทีมไม่เกิน 12 คน ที่มีคุณสมบัติถูกต้องในการแข่งขัน สำหรับการแข่งขันซึ่งทีมมีการแข่งขันมากกว่า 3 เกม
- มีผู้ฝึกสอนทีม 1 คน ซึ่งเป็นคนใดคนหนึ่งในสมาชิกของทีมที่ลงเล่นในการแข่งขัน
- ผู้ติดตามทีมให้มีมีสูงสุดได้ 5 คน มีหน้าที่รับผิดชอบพิเศษ


13.1 คำจำกัดความ (Definitions)
สมาชิกของทีม คือผู้เล่น เมื่อเขาอยู่ในสนามแข่งขันและมีคุณสมบัติถูกต้องในการแข่งขัน หรือคือผู้เล่นสำรองเมื่อเขาไม่อยู่ในสนามแข่งขัน
หรืออยู่ในสนามแข่งขัน แต่เขาไม่มีคุณสมบัติที่ถูกต้องในการแข่งขันเพราะเขาฟาล์วเสียสิทธิ์หรือฟาล์วครั้งที่ 5

13.2 กฎ (Rule)

13.2.1 ผู้เล่นที่อยู่ในสนามระหว่างเวลาการแข่งขันและอาจจะเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้

13.2.2 ผู้สำรองกลายเป็นผู้เล่น เมื่อผู้ตัดสินอนุญาตโดยใช้ท่าทางให้เข้ามาแทนตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม

13.2.3 ชุดแข่งขันของผู้เล่นสำหรับแต่ละทีมจะประกอบด้วย
- เสื้อ มีสีที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ผู้เล่นทุกคน (ชายและหญิง) ต้องสวมชายเสื้อไว้ในกางเกงระหว่างเกมการแข่งขัน ชุดที่เป็นชุดเดียวกันทั้งเสื้อและกางเกงอนุญาตให้ใช้ได้
- เสื้อคอกลม (T-shirt) ไม่ว่าลักษณะใดก็ตามไม่อนุญาตให้สวมใส่เป็นเสื้อชั้นในของเสื้อแข่งขัน ยกเว้น มีใบรับรองแพทย์ ถ้าได้รับอนุญาต
เสื้อคอกลมนั้นต้องเป็นสีที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนเหมือนเสื้อแข่งขัน
- กางเกง ต้องเป็นสีที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่ไม่จำเป็นต้องมีสีเหมือนกับสีเสื้อแข่งขัน
- กางเกงชั้นใน (Undergarments) ที่ยาวกว่ากางเกงแข่งขัน อาจสวมใส่ได้แต่สีของกางเกงชั้นในต้องเป็นสีเดียวกับสีของกางเกงแข่งขัน

13.2.4 ผู้เล่นแต่ละคนต้องสวมใส่เสื้อที่มีหมายเลขทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้วยหมายเลขที่ชัดเจนมีแตกต่างกับสีของเสื้อแข่งขัน
หมายเลขจะต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจน และ
- หมายเลขที่ติดด้านหลังต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
- หมายเลขที่ติดด้านหน้าต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
- หมายเลขจะมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร
- ผู้เล่นทีมเดียวกันต้องไม่สวมใส่เสื้อแข่งขันที่มีหมายเลขซ้ำกัน

13.2.5 การโฆษณา อนุญาตให้ได้แต่ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดเอาไว้จากการควบคุมดูแลของเกมการแข่งขัน และจะต้องไม่ปิดบัง
ทำให้มองหมายเลขไม่ชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อแข่งขัน
- ไม่อนุญาต ในสิ่งต่อไปนี้
- อุปกรณ์ป้องกันนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก หรือแขนท่อนล่าง เฝือกหรือเครื่องประดับที่ทำด้วยหนัง พลาสติกอ่อนนุ่ม โลหะ หรือวัสดุอื่นที่มี
ีความแข็ง ถึงแม้จะห่อหุ้มด้วยสิ่งอ่อนนุ่มก็ตาม
- อุปกรณ์ที่มีความคมหรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยขูดขีด (เล็บนิ้วมือจะต้องตัดให้สั้น)
- อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ เครื่องประดับผมและเครื่องประดับที่เป็นเพชรพลอย
- อนุญาต ในสิ่งต่อไปนี้
- อุปกรณ์ป้องกันไหล่ แขนท่อนบน ต้นขาหรือขาท่อนล่างถ้าการห่อหุ้มไม่น่าจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้คนอื่น
- แว่นตา ถ้าไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นคนอื่น ๆ
- อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ มีความกว้างไม่เกิน 5 เซนติเมตร ทำจากผ้าสีเดียวกัน พลาสติกอ่อน หรือยาง

13.2.6 อุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้โดยผู้เล่นต้องเหมาะสมกับการเล่นกีฬาบาสเกตบอล อุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อเพิ่มความสูงหรือความยาวช่วง
แขนของผู้เล่น หรือทำให้เกิดการได้เปรียบอย่างไม่ยุติธรรม ไม่อนุญาตให้ใช้

13.2.7 อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อนี้ สิ่งแรกต้องได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคโลก
ของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติก่อน

13.2.8 ทีมจะต้องมีเสื้อแข่งขันอย่างน้อย 2 ชุด
- ทีมชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน (ทีมเหย้า) จะสวมใส่เสื้อสีอ่อน (โดยมากเป็นสีขาว)
- ทีมชื่อหลังในโปรแกรมการแข่งขัน (ทีมเยือน) จะสวมใส่เสื้อสีเข้ม
- แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงกันได้จะสลับสีเสื้อแข่งขันได้

13.2.9 สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ ผู้เล่นทุกคนในทีมเดียวกันจะต้องสวมใส่สิ่งต่อไปนี้
- รองเท้าต้องมีสี หรือหลากสีเหมือนกัน
- ถุงเท้าต้องมีสี หรือหลากสีเหมือนกัน


14.1 ในกรณีของผู้เล่นบาดเจ็บ ผู้ตัดสินอาจจะสั่งหยุดการแข่งขันได้

14.2 ถ้าเป็นบอลดี เมื่อเกิดการบาดเจ็บขึ้น ผู้ตัดสินจะยับยั้งเสียงนกหวีดไว้ก่อนจนกว่าการเล่นช่วงนั้นจะเสร็จสมบูรณ์ นั้น คือ
ทีมครอบครองบอลยิงประตู เสียการครอบครองบอล ถือลูกบอลเพื่อหยุดการเล่นหรือเกิดบอลตาย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อจำเป็นต้อง
ป้องกันผู้เล่นที่บาดเจ็บผู้ตัดสินอาจสั่งหยุดการแข่งขันทันที

14.3 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่บาดเจ็บ
- ถ้าผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่สามารถเล่นต่อไปได้ทันที (โดยประมาณ 15 วินาที) หรือถ้ามีการรักษา จะต้องเปลี่ยนตัวภายในเวลา 1 นาที
หรือทันทีทันใดถ้าเป็นไปได้
- อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นที่บาดเจ็บซึ่งได้รับการรักษาหรือหายบาดเจ็บแล้วภายในเวลา 1 นาที อาจกลับเข้ามาในเกมการแข่งขันต่อไปได้
แต่ทีมของผู้เล่นที่บาดเจ็บจะต้องถูกปรับเป็นเวลานอก
- นอกจากผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่สามารถกลับเข้ามาในเกมการแข่งขันต่อไปนี้ได้และ ต้องเปลี่ยนตัวถ้าผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่สามารถแข่งขัน
ต่อไปได้ภายใน 1 นาที หรือทีมของผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่มีเวลานอกเหลืออยู่อีก ข้อยกเว้น (Exception) ทีมจะเล่นต่อไปได้ต้องเหลือ
ผู้เล่น จำนวนน้อยกว่า 5 คน

14.4 ถ้าผู้เล่นที่บาดเจ็บได้โยนโทษต้องให้ผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวเข้ามาได้โยนโทษแทน
การเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่อาจเปลี่ยนตัวกลับเข้ามาได้จนกว่าจะมีการ เล่นในช่วงนาฬิกาแข่งขันเดินในครั้งต่อไป

14.5 ผู้เล่นซึ่งถูกกำหนดโดยผู้ฝึกสอนในการเริ่มการแข่งขันอาจเปลี่ยนตัวได้ในกรณีเกิดการบาดเจ็บ โดยมีข้อแม้ว่า
ผู้ตัดสินเห็นว่าการบาดเจ็บนั้นเป็นจริง ในกรณีนี้ฝ่ายตรงข้ามสามารถเปลี่ยนตัวตามได้ 1 คน ถ้าฝ่ายตรงข้ามต้องการ เปลี่ยนตัว

14.6 ระหว่างเกมการแข่งขัน ผู้ตัดสินจะสั่งให้ผู้เล่นซึ่งมีในกรณีนี้ให้ผู้เล่นเปลี่ยนตัวได้ ผู้เล่นอาจจะกลับเข้ามาในสนามได้
แต่ต้องให้การไหลของเลือดหยุดก่อน และบริเวณบาดแผลที่มีเลือดไหลหรือบาดแผลเปิดนั้นต้องได้รับการปิดบาดแผล อย่างสนิทและ
ปลอดภัยแล้ว

15.1 หัวหน้าทีม คือผู้เล่นที่เป็นตัวแทนของทีมในสนามอาจจะติดต่อสื่อสารกับผู้ตัดสินระหว่าง เกมการแข่งขันเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความสุภาพ และเฉพาะเมื่อบอลตายและนาฬิกาแข่งขันหยุดเดินเท่านั้น

15.2 เมื่อหัวหน้าทีมออกจากสนาม
ด้วยเหตุผลใดก็ตามผู้ฝึกสอนจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบถึงหมายเลขผู้เล่น ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมแทนในสนามระหว่างที่หัวหน้าทีม
คนเดิมไม่อยู่ในสนาม

15.3 หัวหน้าทีมอาจจะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนได้

15.4 หัวหน้าทีมจะต้องกำหนดตัวผู้โยนโทษในสถานการณ์การโยนโทษของทีมในทุกกรณีที่ไม่ได้ระบุตัวผู้โยนโทษตามกติกา

15.5 หัวหน้าทีมจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีภายหลังสิ้นสุดเกมการแข่งขันว่า
ทีมของตนเองต้องการประท้วงผลการแข่งขันโดยลงนามชื่อในใบบันทึกคะแนนที่ช่องว่างคำว่าลายมือชื่อของหัวหน้าทีมในกรณี
ประท้วง

16.1 ผู้ฝึกสอนหรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนเป็นผู้แทนคนเดียวของทีมซึ่งอาจจะติดต่อสื่อ สารกับเจ้าหน้าที่โต๊ะบันทึกคะแนนระหว่างเกมการ
แข่งขันเกี่ยวกับข้อมูลสถิติ ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความสุภาพเฉพาะเมื่อบอลตายและนาฬิกาแข่งขันหยุดเดินเท่านั้น และต้องไม่ขัดขวาง
การเล่นของเกมการแข่งขันตามปกติ

16.2 อย่างน้อย 20 นาที ก่อนเริ่มการแข่งขันตามกำหนดเวลา ผู้ฝึกสอนหรือผู้แทนแต่ละทีมจะต้องส่งรายชื่อและหมายเลขสมาชิก
ของทีมที่ลงเล่นในการแข่งขันนั้นให้กับผู้บันทึกคะแนนพร้อมทั้งระบุชื่อหัวหน้าทีม ผู้ฝึกสอน และผู้ช่วยผู้ฝึกสอนของทีมด้วย

16.3 อย่างน้อย 10 นาที ก่อนเริ่มเกมการแข่งขันตามกำหนดเวลา ผู้ฝึกสอนทั้ง 2 ทีม จะต้องยืนยันรับรองรายชื่อและหมายเลข
สมาชิกของทีมและชื่อผู้ฝึกสอน โดยลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนน ในเวลาเดียวกันจะต้องแจ้งให้ผู้เล่น 5 คนแรกซึ่งเริ่มเกม
การแข่งขัน ผู้ฝึกสอนทีม “A” จะเป็นฝ่ายแจ้งก่อน

16.4 ผู้เล่นสำรองที่มาช้าอาจจะลงแข่งขันได้
โดยมีข้อแม้ว่าผู้ฝึกสอนต้องส่งรายชื่อของเขาในใบรายชื่อสมาชิกของทีมให้กับผู้บันทึกคะแนนก่อนเริ่มเกมการแข่งขัน

16.5 เฉพาะผู้ฝึกสอนหรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่ร้องขอเวลานอก

16.6 เฉพาะผู้ฝึกสอนหรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอน แต่ไม่ใช่พร้อมกันทั้ง 2 คน อนุญาตให้ยืนขึ้นได้ระหว่างเกมการแข่งขัน
รวมถึงหัวหน้าทีมซึ่งทำหน้าที่แทนผู้ฝึกสอนสำหรับเหตุผลใดก็ตาม

16.7 เมื่อผู้ฝึกสอนหรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนร้องขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นต้องรายงานตัวต่อผู้บันทึกคะแนนและต้องพร้อมที่จะเข้าเล่นทันที

16.8 ถ้าผู้ช่วยผู้ฝึกสอนลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนนก่อนเกมเริ่มการแข่งขัน (เขาไม่จำเป็นต้องลงลายมือชื่อ)
เขาจะรับหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนมีอำนาจและหน้าที่ทั้งหมด ถ้าผู้ฝึกสอนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม

16.9 หัวหน้าทีมจะทำหน้าที่แทนผู้ฝึกสอน
ถ้าไม่มีผู้ฝึกสอนหรือถ้าผู้ฝึกสอนไม่สามารถปฏิบัติหน้าทีต่อไปได้และไม่มีชื่อผู้ช่วยผู้ฝึกสอนในใบบันทึกคะแนน
(หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้) ถ้าหัวหน้าทีมต้องออกจากสนามสำหรับเหตุผลใดก็ตาม เขาอาจจะปฏิบัติหน้าที่
ี่ผู้ฝึกสอนต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเขาต้องออกจากเกมแข่งขันเนื่องจากการฟาล์วเสียสิทธิ์ หรือถ้าเขาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ฝึกสอน
ได้ เพราะการบาดเจ็บ ผู้เล่นที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมแทนต้องปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้ฝึกสอนด้วย

17.1 เกมการแข่งขันประกอบด้วยการแข่งขัน 4 ช่วงการเล่น ช่วงละ 10 นาที

17.2 พัก 2 นาที ระหว่างช่วงการเล่นที่ 1 กับช่วงการเล่นที่ 2 และระหว่างช่วงการเล่นที่ 3 กับช่วงเวลาที่ 4 และก่อนช่วงต่อเวลา
พิเศษในแต่ละช่วง

17.3 พักครึ่งเวลา 15 นาที

17.4 ถ้าคะแนนเท่ากันหลังจากสิ้นสุดการแข่งขันในช่วงการเล่นที่ 4 เกมการแข่งขันจะเล่นต่อไปด้วยช่วงต่อเวลาพิเศษ 5
นาทีหรืออาจจะแข่งขันต่อไปอีกกี่ช่วงก็ได้ ช่วงการเล่นละ 5 นาที ซึ่งถ้ายังมีคะแนนเท่ากันอีก

17.5 ทุกช่วงต่อเวลาพิเศษ ทีมจะเล่นต่อไปในทิศทางของห่วงประตูเดิมต่อจากการแข่งขันในช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงการเล่นที่ 4

18.1 สำหรับเกมการแข่งขัน ทีมชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน (ทีมเหย้า) จะมีสิทธิ์เลือกห่วงประตูและที่นั่งของทีมก่อน
ในการเลือกนี้จะต้องดำเนินการและแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบอย่างน้อย 20 นาที ก่อนเกมการแข่งขันเริ่มตามโปรแกรมการแข่งขัน

18.2 ก่อนช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 3 ทีมเข้าไปอบอุ่นร่างกายในครึ่งสนามซึ่งห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามตั้งอยู่

18.3 ทีมจะเปลี่ยนห่วงประตูในช่วงการเล่นที่ 3

18.4 เกมการแข่งขันมีสามารถเริ่มได้ ถ้าทีมใดทีมหนึ่งมีผู้เล่นในสนามไม่ครบ 5 คน และพร้อมที่จะแข่งขัน

18.5 เกมการแข่งขันเริ่มอย่างเป็นทางการ ด้วยการเล่นลูกกระโดที่วงกลมกลาง เมื่อลูกบอลถูกปัดอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นลูกกระโดด

ลูกบอลสามารถเป็นบอลดีหรือบอลตาย
19.1 ลูกบอลเป็นบอลดี เมื่อ :
- ระหว่างการเล่นลูกกระโดด ลูกบอลถูกปัดอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นลูกกระโดด
- ระหว่างการโยนโทษผู้ตัดสินส่งลูกบอลให้กับผู้โยนโทษถือ เพื่อดำเนินการโยนโทษ
- ระหว่างการส่งบอลเข้าเล่น ผู้เล่นที่จะส่งบอลเข้าเล่นถือลูกบอลพร้อมส่งบอลเข้าเล่น

19.2 ลูกบอลเป็นบอลตาย เมื่อ
- ยิงประตูหรือโยนโทษเป็นผล
- เสียงนกหวีดของผู้ตัดสินดังขึ้นในขณะที่เป็นบอลดี
- เป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่าลูกบอลไม่ไปที่ห่วงประตูจากการโยนโทษ ซึ่งมีเหตุการณ์อื่นเกิดตามมาโดย
- มีการโยนโทษอีก 1 ครั้ง
- มีการลงโทษอื่นอีก (การโยนโทษ และ/หรือการส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม)
- สัญญาณเสียงการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันแต่ละช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษดังขึ้น
- ลูกบอลลอยอยู่ในอากาศจากการยิงประตู ถูกผู้เล่นทีมใดทีมหนึ่ง

20.1 ตำแหน่งของผู้เล่น พิจารณาจุดที่ผู้เล่นสัมผัสพื้นสนามในขณะที่ผู้เล่นกระโดดขึ้นไปในอากาศให้ ถือเสมือนหนึ่งว่าเขายังคงยืน
อยู่บนพื้นสนามครั้งสุดท้ายไม่ว่าจะเป็นเส้นกำหนดเขต 3 วินาที

20.2 ตำแหน่งของผู้ตัดสินพิจารณาในทำนองเดียวกันตำแหน่งของผู้เล่น
เมื่อลูกบอลสัมผัสถูกผู้ตัดสินให้ถือเสมือนว่าลูกบอลถูกพื้นสนามที่ตำแหน่งของผู้ตัดสินยืนอยู่

21.1 คำจำกัดความ

21.1.1 การเล่น ลูกกระโดด เป็นวิธีการทำให้เป็นบอลดี เริ่มเมื่อผู้ตัดสินโยนลูกบอลขึ้นระหว่างผู้เล่นต่างฝ่ายกัน 2 คน
ในวงกลมกลางสนามของแต่ละครึ่งเวลาหรือช่วงต่อเวลาพิเศษทุกช่วง ไม่มีผู้เล่นคนในครอบครองบอลได้ โดยปราศจากความรุนแรง

21.1.2 วิธีการปฏิบัติ สำหรับการดำเนินการเล่นลูกกระโดด

21.2.1 ผู้เล่นลูกกระโดดแต่ละคนจะยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างภายในครึ่งวงกลม
ซึ่งอยู่ใกล้กับห่วงประตูของทีมตนเองโดยเท้าข้างหนึ่งอยู่ใกล้เส้นกลางของวงกลม

22.1 ในกีฬาบาสเกตบอล ลูกบอลจะเล่นด้วยมือข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างเท่านั้น

22.2 การวิ่งไปพร้อมกับลูกบอล การเตะลูกบอลอย่างจงใจการสกัดกั้นลูกบอลด้วยบางส่วนของขา หรือทุบลูกบอลด้วยกำปั้นเป็น
การผิดระเบียบ

22.3 การที่ลูกบอลถูกเท้าหรือขาโดยบังเอิญ ไม่เป็นการทำผิดระเบียบ

23.1 ผู้เล่นครอบครองบอลเมื่อเขาถือลูกบอล หรือเลี้ยงลูกบอล หรือจัดการกับลูกบอลในขณะเป็นบอลดี

23.2 ทีมครอบครองบอลเมื่อผู้เล่นของทีมนั้นครอบครองบอลดี หรือลูกบอลถูกส่งไปมาระหว่างผู้เล่นในทีมเดียวกัน

23.3 ทีมครอบครองบอลต่อไปจนกว่าฝ่ายตรงข้ามแย่งลูกบอลไปครอบครอง เป็นบอลตาย
หรือลูกบอลหลุดออกจากมือของผู้เล่นจากการยิงประตูหรือการโยนโทษ

24.1 ลักษณะการยิงประตูจะเริ่มเมื่อผู้เล่นเริ่มเคลื่อนที่ตามปกติก่อนปล่อยลูกบอล
และในการพิจารณาของผู้ตัดสินจะพิจารณาว่าผู้เล่นได้เริ่มความพยายามในการทำคะแนนในการโยนการยัดห่วง หรือการปัด
ให้ลูกบอลลงห่วงประตูฝ่ายตรงข้าม ลักษณะการยิงประตูนี้จะพิจารณาต่อไปจนกว่าลูกบอลหลุดออกจากมือขงผู้เล่นที่ พยายามทำคะแนน
อาจถูกยึดแขนโดยฝ่ายตรงข้ามทำให้ไม่สามารถทำคะแนนได้ แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาของผู้ตัดสินจะพิจารณาความพยายามใน
การทำคะแนน ความพยายามนั้นไม่จำเป็นว่าลูกบอลจะหลุดจากมือของผู้เล่นหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างจำนวนก้าว
ของการเคลื่อนที่และลักษณะกำลังยิงประตู

24.2 ในกรณีของผู้ยิงประตูกระโดดลอยตัวอยู่ในอากาศการกระทำของการยิงประตูยังคงต่อเนื่อง จนกระทั่งความพยายามจะสิ้นสุด
(ลูกบอลหลุดออกจากมือของผู้ยิงประตู) และเท้าของผู้เล่นทั้ง 2 ข้าง ลงสู่พื้นเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม การครอบครองบอล
ของทีมสิ้นสุดเมื่อสุดบอลหลุดออกจากมือของผู้ยิงประตู
24.3 สำหรับการพิจารณาการฟาล์วต่อผู้เล่นที่อยู่ในลักษณะกำลังยิงประตูซึ่งการกระทำฟาล์วต้องเกิดขึ้น

การพิจารณาของผู้ตัดสินหลังจากผู้เล่นเริ่มเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องของแขนและ/ หรือบางส่วนของร่างกายในการพยายามยิงประตู
การเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง
- เริ่มต้นเมื่อลูกบอลอยู่ในมือของผู้เล่นและกำลังเคลื่อนที่ยิงประตูตามปกติขึ้นไปข้างบน
- อาจรวมถึงแขนของผู้เล่นและ/หรือการเคลื่อนที่ของร่างกายโดยผู้เล่นพยายามยิงประตูเพื่อทำคะแนน
- ความพยายามยิงประตูสิ้นสุด ถ้าเริ่มความพยายามเคลื่อนที่ใหม่
ถ้าหลักการเกี่ยวกับการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องตรงกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ให้พิจารณาว่าผู้เล่นอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู

25.1 คำจำกัดความ

25.1.1 ได้ประตู เมื่อลูกบอลลงห่วงประตูจากด้านบนและค้างอยู่ในห่วงประตูหรือผ่านห่วงประตูลงมา

25.1.2 การพิจารณาว่าลูกบอลอยู่ในห่วงประตูเมื่อเห็นว่าบางส่วนของลูกบอลอยู่ภายในห่วงและอยู่ต่ำกว่าส่วนบนสุดของห่วง

25.2 กฎ

25.2.1 ให้ประตูกับทีมฝ่ายรุกที่เข้ายิงประตูซึ่งโยนลูกบอลลงห่วงประตู ดังต่อไปนี้
- ให้ประตูจากการโยนโทษ นับ 1 คะแนน
- ให้ประตูจากการยิงประตูบริเวณพื้นที่ยิงประตู 2 คะแนน นับ 2 คะแนน
- ให้ประตูจากการยิงประตูบริเวณพื้นที่ยิ่งประตู 3 คะแนน นับ 3 คะแนน

25.2.2 ถ้าบังเอิญยิงประตูตนเองลงห่วงประตูคะแนนจะบันทึกเป็นของหัวหน้าทีมฝ่ายตรงข้าม

25.2.3 ถ้าผู้เล่นจงใจ ยิงประตูตนเองลงห่วงประตูเป็นการทำผิดระเบียบและคะแนนไม่นับ

25.2.4 ถ้าผู้เล่นทำให้ลูกบอลเข้าห่วงประตูจากด้านล่างเป็นการทำผิดระเบียบ

26.1หลักการทั่วไป

26.1.1 ไม่ว่าเมื่อใดก็ตามที่ลูกบอลลงห่วงประตูจากการยิงประตู หรือการโยนโทษแต่ไม่นับคะแนน การส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม
จะส่งที่เส้นข้างตามแนวเส้นโยนโทษ

26.1.2 หลังการโยนโทษจากการฟาล์วเทคนิคฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา หรือการฟาล์วเสียสิทธิ์
การส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามจะนำไปส่งที่จุดกึ่งกลางสนามตรงข้ามโต๊ะผู้ บันทึกคะแนนไม่ว่าการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือ
ครั้งเดียว เป็นผลหรือไม่ก็ตาม การส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่จุดกึ่งกลางสนาม ผู้เล่นจะยืนคร่อมแนวเส้นกึ่งกลางสนามและ
สามารถส่งลูกบอลไปให้ผู้เล่นที่ใดก็ได้ในสนาม

26.1.3 หลังการฟาล์วบุคคลซึ่งกระทำโดยผู้เล่นของทีมครอบครองบอลดี
หรือทีมที่ได้ส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามจะให้ฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามใกล้จุดที่ละเมิดกติกา

26.1.4 ผู้ตัดสินอาจจะโยนลูกบอล หรือส่งลูกบอลกระทบพื้นไปให้ผู้เล่นที่จะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม นั้นคือ
- ผู้ตัดสินจะต้องอยู่ห่างจากผู้เล่นที่จะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามเกินกว่า 3 หรือ 4 เมตร
- ผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเข้าจากนอกสนามต้องยืนอยู่ที่จุดซึ่งกำหนดโดยผู้ตัดสิน
- ทีมที่ครอบครองบอลจะไม่เป็นฝ่ายได้เปรียบ

26.2 ผลที่ตามมาภายหลังการยิงประตูหรือการโยนโทษครั้งสุดท้ายเป็นผล

26.2.1 ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของทีมที่เสียคะแนนจะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่เส้นหลัง ภายหลังการยิงประตูเป็นผล
ข้อปฏิบัตินี้ใช้ได้หลังจากผู้ตัดสินยื่นลูกบอลให้กับผู้เล่นหรือส่งลูกบอลให้ เพื่อส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามภายหลังการขอ
เวลานอก หรือภายหลังหยุดการแข่งขันหลังการได้คะแนน

26.2.2 ผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นอาจเคลื่อนไปทางด้านข้างและ/หรือถอยหลัง
และ/หรืออาจส่งลูกบอลไปมาระหว่างเพื่อนร่วมทีมซึ่งอาจเหยียบเส้นหรืออยู่หลังเส้นหลัง แต่การนับ 5
วินาทีเริ่มนับเมื่อลูกบอลพร้อมส่งเข้าเล่นของผู้เล่นคนแรกนอกสนาม

26.2.3 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับทีมที่จะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม จะต้องไม่ถูกลูกบอลภายหลังลูกบอลผ่านห่วงประตูลงมา
อาจอนุญาตให้ถูกลูกบอลได้โดยบังเอิญหรือโดยสัญชาตญาณ แต่ถ้าหลังจากการการเตือนในครั้งแรกทำให้การส่งบอลเข้าเล่นล่าช้า
โดยการเกี่ยวข้องกับลูกบอล จะเป็นฟาล์วเทคนิค

26.3 ผลที่ตามมาภายหลังการละเมิดหรือหยุดการเล่นอื่น ๆ

26.3.1 ผู้เล่นส่งบอลจะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่จุดใกล้กับที่เกิดการละเมิดกติกา หรือที่กำหนดจุดโดยผู้ตัดสินซึ่งหยุด
การเล่นนั้น ยกเว้นใต้กระดานหลังโดยตรง

26.3.2 ผู้ตัดสินต้องยื่น ส่ง หรือวางลูกบอลที่จุดกำหนดของผู้เล่นที่พร้อมจะส่งบอลเข้าเล่น

26.4 กฎ

26.4.1 ผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นจะไม่ทำผิดระเบียบดังต่อไปนี้
- ถูกลูกบอลในสนามก่อนที่ลูกบอลจะถูกผู้เล่นคนอื่น
- ก้าวเท้าเข้าไปในสนามก่อนหรือในขณะที่กำลังปล่อยลูกบอล
- ใช้เวลาเกิน 5 วินาที ก่อนปล่อยลูกบอล
- ในขณะปล่อยลูกบอล ลูกบอลถูกพื้นนอกสนามก่อนถูกผู้เล่นในสนาม
- ลูกบอลลงห่วงประตูโดยตรง
- การเคลื่อนที่จะต้องก้าวเท้าไม่เกิน 1 ก้าวปกติไม่เคลื่อนที่มากกว่าว่าทิศทางเดียวจากจุดที่กำหนดโดยผู้ตัดสินก่อน หรือในขณะ
ปล่อยลูกบอล แต่อย่างไรก็ตาม อนุญาตให้เคลื่อนที่ถอยหลังเป็นแนวตั้งฉากกับเส้นเขตสนาม ไกลเท่าไรก็ได้ตามสภาพแวดล้อม

26.4.2 ผู้เล่นคนอื่นจะต้องไม่ปฏิบัติในสิ่งต่อไปนี้
- ไม่อาจยื่นบางส่วนของร่างกายออกนอกเขตสนามก่อนที่ลูกบอลจะถูกส่งข้ามเส้นเขตสนามเข้าไปในสนาม
- ไม่เข้าใกล้ผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นอย่างน้อย 1 เมตร เมื่อพื้นที่มีที่ว่างนอกเส้นเขตสนามที่จุดส่งบอลเข้าเล่นน้อยกว่า 2 เมตร
การละเมิดกติกาข้อ 26.4 เป็นการทำผิดระเบียบ

26.5 บทลงโทษ
ให้ฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่จุดส่งบอลจุดเดิม

27.1 คำจัดกัดความ
การให้เวลานอกเป็นการขัดจังหวะเกมการแข่งขันซึ่งร้องขอโดยผู้ฝึกสอน หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนของทีม

27.2 กฎ

27.2.1 เวลานอกแต่ละครั้ง เท่ากีบ 1 นาที

27.2.2 โอกาสการให้เวลานอก เริ่มต้นเมื่อ
- บอลตายและนาฬิกาแข่งขันหยุดเดินและเมื่อผู้ตัดสินสิ้นสุดการสื่อสารกับโต๊ะ ผู้บันทึกคะแนนเพื่อแจ้งการกระทำฟาล์วหรือการทำ
ผิดระเบียบ
-การยิงประตูเป็นผล ฝ่ายตรงข้ามร้องขอเวลานอกก่อนหรือหลังการยิงประตู

27.2.3 โอกาสการให้เวลานอกสิ้นสุด เมื่อ
- ผู้ตัดสินถือหรือปราศจากจากลูกบอลเข้าไปในเขตโยนโทษ เพื่อดำเนินการโยนโทษครั้งแรกหรือครั้งเดียว
- ผู้เล่นถือลูกบอลสำหรับการส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม

27.2.4 แต่ละทีมขอเวลานอกได้ 2 ครั้ง ระหว่างครึ่งเวลาแรก (ช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 2) ขอเวลานอกได้ 3 ครั้ง
ระหว่างครึ่งเวลาหลัง (ช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงการที่เล่นที่ 4) และขอเวลานอกได้ 1 ครั้ง ระหว่างช่วงต่อเวลาพิเศษแต่ละช่วง

27.2.5 ให้เวลานอกต่อผู้ฝึกสอนของทีมซึ่งได้ร้องขอไว้ก่อน
นอกเสียจากว่าเวลานอกที่ให้ภายหลังจาการยิงประตูเป็นผลโดยฝ่ายตรงข้ามและปราศจากการกระทำฟาล์ว

27.2.6 การร้องขอของทีมสำหรับเวลานอก อาจขอยกเลิก
แต่ต้องก่อนสัญญาณของผู้บันทึกคะแนนดังขึ้นเพื่อแจ้งให้นั่งในที่นั่งของทีมอาจจะเข้าไปในสนาม โดยมีข้อแม้ว่ายังคงอยู่
บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่นั่งของทีม

27.3 วิธีการปฏิบัติ

27.3.1 ผู้ฝึกสอนหรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนเป็นผู้ที่ร้องขอเวลานอกที่ถูกต้อง โดยการเดินทางไปแจ้งกับผู้บันทึกคะแนน
และพูดอย่างชัดเจนสำหรับการขอเวลานอกด้วยการทำสัญญาณมือตามที่กำหนดไว้

27.3.2 โอกาสในการให้เวลานอก เริ่มต้นเมื่อผู้บันทึกคะแนนแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบโดยสัญญาณเสียงในโอกาสที่เริ่มให้เวลานอก
ถ้าการยิงประตูเป็นผลต่อทีมซึ่งต้องขอเวลานอกไว้ ผู้จับเวลา แข่งขันจะหยุดนาฬิกาแข่งขันและให้สัญญาณเสียงทันที

27.3.3 เวลานอกเริ่มเมื่อผู้ตัดสินเป่านกหวีดและให้สัญญาณเวลานอก

27.3.4 เวลานอกสิ้นสุดเมือผู้ตัดสินเป่านกหวีดและเรียกผู้เล่นของทีมกลับเข้าสนาม
27.4 ข้อจำกัด (Restrictions)
27.4.1 ไม่อนุญาตให้เวลานอก ระหว่างหรือภายหลังการโยนโทษ ในกรณีเกิดการลงโทษของการฟาล์วครั้งเดียว
จนกว่าจะเกิดบอลตายขึ้นอีกครั้งภายหลังนาฬิกาแข่งขันเดินในช่วงของเกมการแข่งขัน
ข้อยกเว้น(Exceptions)
- ขานฟาล์วระหว่างการโยนโทษ ในกรณีนี้ให้โยนโทษให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงให้เวลานอก แต่ต้องก่อนที่จะดำเนินการตาม
บทลงโทษของการฟาล์วครั้งใหม่
- ขานฟาล์วก่อนเป็นบอลดีหลังการโดยโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว ในกรณีนี้จะให้เวลานอกก่อนที่จะดำเนินการตามบทลงโทษ
ของการฟาล์วครั้งใหม่
- ขานผิดระเบียบก่อนเป็นบอลดีจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว บทลงโทษสำหรับกรณีนี้คือการเล่นลูกกระโดหรือ
ส่งบอลเข้าเล่น ในกรณีที่โยนโทษเป็นชุดโดยบทลงโทษการฟาลว์มากกว่า 1 ครั้ง แต่ละชุดดำเนินการแยกออกจากกัน

27.4.2 ไม่อนุญาตให้เวลานอก กับทีมที่ได้คะแนนเมื่อนาฬิกาแข่งขันหยุดจากการยิงประตูเป็นผลระหว่าง 2 นาทีสุดท้ายของ
ช่วงการเล่นที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ

27.4.3 เวลานอกที่ไม่ใช้ ไม่อาจนำมาใช้ในครึ่งเวลาหรือช่วงต่อเวลาพิเศษต่อไปได้

28.1 กฎ

28.1.1 ทีมอาจเปลี่ยนตัวผู้เล่น ซึ่งเป็นโอกาสในการเปลี่ยนตัว

28.1.2 โอกาสในการเปลี่ยนตัว เริ่มขึ้นเมื่อ
- เป็นบอลตายและนาฬิกาแข่งขันหยุดเดินและเมื่อผู้ตัดสินสิ้นสุดการสื่อสารกับ เจ้าหน้าที่โต๊ะบันทึกคะแนนเพื่อแจ้งการกระทำฟาล์ว
หรือการทำผิดระเบียบ
- การยิงประตูเป็นผลใน 2 นาทีสุดท้ายของช่วงการเล่นที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ ทีมที่เสียคะแนนร้องขอเปลี่ยนตัวได้ โอกาส
ในการเปลี่ยนตัว สิ้นสุดเมื่อ
- ผู้ตัดสินถือลูกบอลหรือปราศจากลูกบอลเข้าไปในเขตโยนโทษ เพื่อดำเนินการโยนครั้งแรกหรือครั้งเดียว
- ผู้เล่นถือลูกบอลพร้อมที่จะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม

28.1.3 ผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวออกและการเปลี่ยนตัวเข้าที่ถูกต้อง
ไม่สามารถกลับเข้ามาหรือไม่สามารถออกจากเกมการแข่งขันได้จนกว่าจะเกิดบอลตาย อีกครั้งภายหลังนาฬิกาแข่งขันเดินในช่วง
ของเกมการแข่งขัน
ข้อยกเว้น (Exceptions)
- ทีมมีผู้เล่นเหลือน้อยกว่า 5 คน
- ผู้เล่นเปลี่ยนตัวผิดพลาดเข้าไปยังในที่นั่งของทีมแล้ว หลังจากมีการเปลี่ยนตัวอย่างถูกต้อง

28.2 วิธีการปฏิบัติ (Procedure)

28.2.1 การเปลี่ยนตัวที่ถูกต้องจะร้องขอเปลี่ยนตัวโดยเข้าไปหาผู้บันทึกคะแนนด้วยตนเองและแจ้งการเปลี่ยนตัวอย่างชัดเจน
พร้อมกับทำสัญญาณมือ ซึ่งจะต้องนั่งบนที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัว

28.2.2 จนกว่าโอกาสการเปลี่ยนตัวจะเริ่มขึ้นผู้บันทึกคะแนนจะแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบว่ามีการร้องขอเปลี่ยนตัว
โดยใช้สัญญาณเสียงในโอกาสการเปลี่ยนตัวเริ่มขึ้น

28.2.3 การเปลี่ยนตัวต้องรออยู่นอกสนาม จนกว่าผู้ตัดสินจะให้สัญญาณการเปลี่ยนตัว

28.2.4 ผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวออกไม่ต้องแจ้งผู้บันทึกคะแนนหรือผู้ตัดสิน อนุญาตให้ไปยังที่นั่งของทีมได้

28.2.5 การเปลี่ยนตัวเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วเท่าที่เป็นไปได้กับผู้เล่นที่กระทำฟาล์วครั้งที่ 5 หรือฟาล์วเสียสิทธิ์ ซึ่งต้องเปลี่ยน
ภายใน 30 วินาที ถ้าในการพิจารณาของผู้ตัดสินเห็นว่าการเปลี่ยนตัวเกิดความล่าช้าอย่างไรเหตุผล จะให้เป็นเวลานอก
กับทีมที่กระทำความล่าช้านั้นถือว่าเป็นการละเมิด

28.2.6 ถ้าร้องขอเปลี่ยนตัวระหว่างเวลานอก ผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวเข้าต้องรายงานตัวต่อผู้บันทึกคะแนนก่อนเข้าไปในสนาม

28.2.7 การร้องขอเปลี่ยนตัวอาจจะยกเลิกได้เฉพาะก่อนสัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนจะเริ่มดังขึ้นสำหรับการเปลี่ยนตัวนั้น

28.3 ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนผู้เล่น

28.3.1 ภายหลังการกระทำผิดระเบียบโดยทีมที่ไม่ได้ส่งบอลเข้าเล่น
ข้อยกเว้น (Exceptions)

28.3.2 ระหว่างหรือหลังจากการโยนโทษ ในกรณีที่มีบทลงโทษครั้งเดียว
จนกว่าจะเกิดบอลตายอีกครั้งหลังจากนาฬิกาแข่งขันเดิน ในช่วงของเกมการแข่งขัน
ข้อยกเว้น (Exceptions)
- ขานฟาล์วระหว่างการโยนโทษ
ในกรณีนี้ให้การโยนโทษดำเนินไปให้เสร็จสิ้นและการเปลี่ยนตัวจะเปลี่ยนก่อน ดำเนินการตามบทลงโทษของการฟาล์วครั้งต่อไป
- ขานฟาล์วก่อนบอลดี ภายหลังการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว
ในกรณีนี้การเปลี่ยนตัวจะเปลี่ยนก่อนดำเนินการตามบทลงโทษของการฟาล์วครั้งใหม่
- ขานผิดระเบียบก่อนบอลดี ภายหลังการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว บทลงโทษคือเล่นลูกกระโดหรือส่งบอลเข้าเล่น
ในกรณีที่มีการโยนโทษเป็นชุด เนื่องจากมีบทลงโทษหารฟาล์วมากกว่า 1 ครั้ง แต่ละชุดดำเนินการแยกออกจากกัน

28.3.3 สำหรับผู้โยนโทษ
ข้อยกเว้น (Exceptions)
- ผู้โยนโทษบาดเจ็บ
- ผู้โยนโทษกระทำฟาล์วครั้งที่ 5
- ผู้โยนโทษถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์

28.3.4 เมื่อนาฬิกาแข่งขันหยุด ภายหลังการยิงประตูเป็นผลโดยทีมซึ่งร้องขอเปลี่ยนตัวระหว่าง 2 นาทีสุดท้ายของช่วงการเล่นที่ 4
หรือช่วงต่อเวลาพิเศษแต่ละช่วง
ข้อยกเว้น (Exceptions)
- ระหว่างมีการขอเวลานอก
- ทีมที่เสียคะแนนร้องขอเปลี่ยนตัว
- ผู้ตัดสินสั่งหยุดเกมการแข่งขันอย่างมีเหตุผล

28.4 การเปลี่ยนตัวผู้โยนโทษ
ผู้เล่นซึ่งเป็นผู้โยนโทษอาจจะเปลี่ยนตัวได้โดยมีข้อแม้ว่า
- ได้ร้องขอเปลี่ยนตัวก่อนโอกาสการเปลี่ยนตัวสิ้นสุดสำหรับการโยนโทษครั้งแรกหรือครั้งเดียว
- ในกรณีโยนโทษเป็นชุด เนื่องจากเป็นบทลงโทษของการฟาล์วมากกว่า 1 ครั้ง แต่ละชุดให้ดำเนินการแยกออกจากกัน
- เป็นบอลตายภายหลังจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว
ถ้าผู้โยนโทษเปลี่ยนตัว ฝ่ายตรงข้ามอาจขอเปลี่ยนตัวตามได้ 1 คน แต่ต้องร้องขอเปลี่ยนตัวก่อนเป็นบอลดีสำหรับการโยนโทษครั้ง
สุดท้ายหรือครั้งเดียว

29.1 ช่วงการเล่น ช่วงต่อเวลาพิเศษ หรือเกมการแข่งขันจะสิ้นสุดเมื่อสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาดังขึ้น เพื่อแสดงให้ทราบว่า
หมดเวลาการแข่งขัน

29.2 ถ้ามีการกระทำฟาล์วพร้อมกันหรือใกล้เคียง
ก่อนช่วงที่สัญญาณเสียงเวลาแข่งขันทีแสดงวาหมดเวลาของช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษดังขึ้น เป็นผลให้เกิดการโยนโทษขึ่น
จากผลของการกระทำฟาล์วนั้นจะต้องดำเนินการ

30.1 กฎ
ทีมจะแพ้โดยถูกปรับเป็นแพ้ ถ้า
- ปฏิเสธการแข่งขันหลังจากสั่งให้ทำการแข่งขันโดยผู้ตัดสิน
- การกระทำที่ขัดขวางเกมการแข่งขันจากการเริ่มเล่น
- 15 นาทีหลังจากเริ่มเวลาการแข่งขันตามโปรแกรมการแข่งขัน ทีมไม่มารายงานตัวหรือมีผู้เล่นในสนามไม่ครบ 5 คนที่พร้อมจะ
แข่งขัน

30.2 บทลงโทษ

30.2.1 ให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นทีมชนะและคะแนนจะเป็น 20 ต่อ 0 จากนั้นทีมที่ถูกปรับเป็นแพ้จะได้ 0 คะแนนในการจัดลำดับที่

30.2.2 สำหรับการแข่งขัน 2 เกม (เหย้าและเยือน) คะแนนรวมในการจัดลำดับที่ของทีมและสำหรับการแข่งขันเพลย์ออฟ
(ชนะ 2 ใน 3) ทีมที่ถูกปรับเป็นแพ้ในเกมแรก เกมที่ 2 หรือเกมที่ 3 จะต้องแพ้โดย “การถูกปรับเป็นแพ้” ลักษณะนั้นไม่น่าไป
ประยุกต์ใช้สำหรับการ แข่งขันเพลย์ออฟ (ชนะ 3 ใน 5)

31.1 กฎ
ทีมจะแพ้โดยมีผู้เล่นน้อยกว่ากำหนด ถ้าระหว่างเกมการแข่งขันจำนวนผู้เล่นของทีมในสนามมีน้อยกว่า 2 คน

31.2 บทลงโทษ

31.2.1 ถ้าทีมซึ่งมีผู้เล่นครบตามกำหนดมีคะแนนนำอยู่ ให้คงคะแนนไว้ในขณะที่หยุดเวลาแข่งขัน ถ้าทีมซึ่งมีผู้เล่นครบตามกำหนด
และมีคะแนนตามอยู่ คะแนนจะบันทึกเป็น 2 ต่อ 0 จากนั้นทีมที่แพ้จะได้คะแนน 1 คะแนน ในการจัดลำดับที่

31.2.2 สำหรับการแข่งขัน 2 เกม (เหย้าและเยือน) คะแนนรวมในการจัดลำดับที่ของทีม และทีมที่แพ้ในเกมแรกหรือเกมที่ 2
จะแพ้โดย “การมีผู้เล่นน้อยกว่ากำหนด”

32.1 คำจำกัดความ
การทำผิดระเบียบ เป็นการละเมิดกติกา

32.2 วิธีการปฏิบัติ
เมื่อตัดสินเป็นการทำผิดระเบียบ ผู้ตัดสินจะต้องสนใจข้อเท็จจริงแต่ละเรื่อง และหลักฐานสำคัญพื้นฐาน ซึ่งต้องเพิ่มน้ำหนักใน
การพิจารณา
- ความตั้งใจและเจตนาของกติกาต้องการยกระดับของเกมการแข่งขัน
- ความสม่ำเสมอในการนำไปประยุกต์ใช้กับความรู้สึกไปยังเกมแข่งขันแต่ละเกม ซึ่งเป็นการสนับสนุนจิตใจ ความสามารถของผู้เล่น
ความวิตกกังวล ทัศนคติ และความประพฤติกรรมระหว่างเกมการแข่งขัน
- ความสม่ำเสมอในการรักษาความสมดุลระหว่างการควบคุมและการลื่นไหลของเกมเป็นความรู้สึกสำหรับการกระทำที่ยากลำบาก
การมีส่วนร่วมกันและการขานที่ถูกต้องสำหรับเกมนั้น

32.3 บทลงโทษ
ฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นนอกสนามใกล้จุดที่เกิดการละเมิด ยกเว้นบริเวณ ใต้กระดานหลังโดยตรง
ข้อยกเว้น (Exceptions) กติกาข้อ 26.5,41.3,57.4.6 และ 57.54

33.1 คำจำกัดความ

33.1.1 ผู้เล่นออกนอกสนาม เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกพื้นหรือถูกวัตถุอื่นที่ไม่ใช่ผู้เล่นอยู่บนเส้นเหนือขึ้นไปหรือ
อยู่นอกเส้นเขตสนาม

33.1.2 ลูกบอลออกนอกสนาม เมื่อถูกสิ่งต่อไปนี้
- ผู้เล่นหรือบุคคลอื่น ซึ่งอยู่นอกสนาม
- พื้นหรือวัตถุอื่นที่อยู่บนเส้นเหนือขึ้นไปหรืออยู่นอกเส้นเขตสนาม
- สิ่งค้ำยันของกระดานหลังด้านหลังของกระดานหลัง หรือวัตถุอื่นที่อยู่เหนือขึ้นไป และ/หรืออยู่ด้านบนกระดานหลัง
33.2 กฎ

33.2.1 ลูกบอลถูกทำให้ออกนอกสนาม โดยผู้เล่นคนสุดท้ายถูกลูกบอลหรือถูกลูกบอลก่อนออกจากสนาม แม้แต่ถ้าลูกบอล
ออกนอกสนามโดยถูกสิ่งอื่นถือว่าผู้เล่นคนนั้น

33.2.2 ถ้าลูกบอลออกนอกสนามเพราะถูกผู้เล่นหรือลูกบอลไปถูกผู้เล่นซึ่งอยู่ในสนามหรืออยู่นอกสนาม ผู้เล่นคนนั้นเป็นผู้ทำให้
ลูกบอลออกนอกสนาม

34.1 คำจำกัดความ

34.1.1 การเลี้ยงลูกบอล เริ่มต้นเมื่อผู้เล่นที่ครอบครองบอลดีในสนาม โยน ปัด กลิ้ง
หรือเลี้ยงไปบนพื้นสนามและถูกลูกบอลอีกครั้งก่อนที่ลูกบอลจะถูกผู้เล่นคนอื่น การเลี้ยงลูกบอล สิ้นสุดเมื่อผู้เล่นถูกลูกบอลด้วยมือทั้ง 2 ข้าง
พร้อมกัน หรือทำให้ลูกบอลพักอยู่ในมือข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง ระหว่างการเลี้ยงลูกบอลอาจจะโยนขึ้นไปในอากาศ
ให้ลูกบอลถูกพื้นก่อนผู้เล่นถูกลูกบอลด้วยมืออีกครั้ง ไม่จำกัดจำนวนก้าวของผู้เล่น เมื่อลูกบอลไม่ถูกมือของผู้เล่นคนนั้น

34.1.2 ผู้เล่นซึ่งเสียการครอบครองบอลดีในสนามโดยบังเอิญและบังครอบครองบอลในสนามต่อไป ให้พิจารณาเป็นการทำลูกบอล
หลุดมือโดยบังเอิญ

34.1.3 ต่อไปนี้ไม่ใช่การเลี้ยงลูกบอล
- การยิงประตูติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง
- การทำลูกบอลหลุดมือโดยบังเอิญ ไม่ว่าจะเป็นตอนเริ่มต้นหรือสิ้นสุดการเลี้ยงลูกบอล
- การปัดลูกบอลจากการครอบครองของผู้เล่นของคนอื่น
- การสกัดกั้นการส่งและพยายามครอบครองบอล
- การโยนลูกบอลจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งและอนุญาตให้พักลูกบอลในมือก่อนที่ลูกบอลจะถูกพื้น ทั้งนี้ ต้องไม่ทำผิดระเบียบการ
พาลูกบอลเคลื่อนที่

34.2 กฎ
ผู้เล่นจะไม่เลี้ยงลูกบอลเป็นครั้งที่ 2 หลังจากผู้เล่นได้สิ้นสุดการเลี้ยงลูกบอลครั้งแรก เว้นแต่ว่าหลังจากการเสียการครอบครอง
บอลดีในสนาม เพราะ
- การยิงประตู
- การปัดลูกบอลโดยฝ่ายตรงข้าม
- การส่งลูกบอลหรือลูกบอลหลุดจากมือโดยบังเอิญแล้วลูกบอลไปถูกผู้เล่นคนอื่น หรือถูกลูกบอลโดยผู้เล่นคนอื่น

35.1 คำจำกัดความ

35.1.1 การพาลูกบอลเคลื่อนที่ เป็นการเคลื่อนที่ของเท้าใดเท้าหนึ่งหรือทั้ง 2 เท้าที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
ในขณะที่ถือบอลดีในสนาม

35.2.2 การหมุนตัว เกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นซึ่งถือบอลดีในสนามก้าวเท่าไป 1 ก้าว หรือมากกว่า 1 ก้าว ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
ด้วยเท้าข้างเดียว ในขณะที่มีเท้าอีกข้างหนึ่งเรียกว่าเท้าหลักเป็นจุดหมุนที่สัมผัสกับพื้นสนาม

35.2 กฎ

35.2.1 การกำหนดเท้าหลัก
- ผู้เล่นซึ่งจับลูกบอลในขณะที่เท้าทั้งสองข้างอยู่บนพื้นสนาม อาจใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้าหลัก
โดยยกเท้าใดเท้าหนึ่งขึ้นพ้นจากพื้นสนามอีกเท้าหนึ่งต้องเป็นเท้าหลัก
- ผู้เล่นซึ่งจับลูกบอลในขณะเคลื่อนที่หรือเลี้ยงลูกบอลอาจหยุด ดังต่อไปนี้
- ถ้าเท้าเดียวถูกพื้นสนาม
- เท้าที่ถูกพื้นสนามนั้นเป็นเท้าหลักท้นทีที่เท้าหนึ่งถูกพื้นสนาม
- ผู้เล่นอาจกระโดดด้วยเท้าหลักนั้นและลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้ง 2 ข้าง ดังนั้น เท้าทั้ง 2 ข้าง ไม่มีเท้าใดเป็นเท้าหลัก
ถ้าเท้าทั้ง 2 ข้าง พ้นจากพื้นสนามและผู้เล่น
- ลงสู่พื้นสนามด้วยเท้าทั้ง 2 ข้าง อาจใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้าหลัก โดยยกเท้าใดหนึ่งขึ้นพ้นจากพื้นสนามอีกเท้าหนึ่งเป็นเท้าหลัก
- ลงสู่พื้นด้วยเท้าเดียวผู้เล่นอาจจะกระโดดและลงสู่พื้นสนามด้วยเท้าทั้ง 2 ข้าง แต่ไม่มีเท้าใดเป็นเท้าหลัก

35.2.2 การเคลื่อนที่ไปพร้อมกับลูกบอล
- หลังจากมีการกำหนดเท้าหลัก ในขณะครอบครองบอลดีในสนาม
- ส่งลูกบอลหรือยิงประตูธรรมดา เท้าหลักอาจจะยกขึ้นพื้นสนามได้ แต่ต้องไม่ให้เท้าหลักลงสู่พื้นสนามก่อนปล่อยลูกบอลหลุดออกจากมือ
- เริ่มเลี้ยงลูกบอล เท้าหลักไม่อาจยกขึ้นพ้นจากพื้นสนามได้ ก่อนปล่อยลูกบอลหลุดออกจากมือ
- หลังจากหยุดเคลื่อนที่ เมื่อไม่มีเท้าใดเป็นเท้าหลัก
- ส่งลูกบอลหรือยิงประตู อาจจะบกเท้าใดเท้าหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง แต่ไม่ให้เท้าลงสู่พื้นก่อนปล่อยลูกบอลหลุดออกจากมือ
- เริ่มเลี้ยงลูกบอล ไม่อาจยกเท้าใดเท้าหนึ่งพ้นจากพื้นสนามก่อนปล่อยลูกบอลหลุดออกจากมือ

35.2.3 ผู้เล่นเสียหลักล้มลงบนพื้น นอน หรือนั่ง บนพื้นเป็นการถูกต้อง เมื่อผู้เล่นในขณะที่ถือลูกบอลเสียหลักล้มลงบนพื้น
หรือในขณะนอนหรือนั่งบนพื้น ได้ครอบครองบอล เป็นการทำผิดระเบียบถ้าผู้เล่นลื่นสไลด์กลิ้งหรือพยายามยืนขึ้นในขณะที่ถือ ลูกบอล

36.1 กฎ

36.1.1 ผู้เล่นจะไม่เข้าไปอยู่ในพื้นที่กำหนดเวลา 3 วินาที ของฝ่ายตรงข้ามเกินกว่า 3 วินาที ในขณะที่ทีมของเขาครอบครองบอลด
ีในสนาม และนาฬิกาแข่งขันกำลังเดินอยู่

36.1.2 อนุญาตให้ผู้เล่นที่อยู่ในพื้นที่กำหนดเวลา 3 วินาที สำหรับผู้เล่นซึ่ง
- พยายามออกจากพื้นที่กำหนดเวลา 3 วินาที
- ผู้เล่นอยู่ในพื้นที่กำหนดเวลา 3
วินาทีเมื่อตัวเขาเองหรือผู้เล่นรวมทีมกำลังอยู่ในลักษณะยิงประตูและลูกบอล กำลังหลุดจากมือหรือเพิ่งออกจากมือของผู้เล่นที่ยิงประตู
- การเลี้ยงลูกบอลเข้าไปยิงประตู หลังจากผู้เล่นอยู่ในพื้นที่กำหนดเวลา 3 วินาที น้อยกว่า 3 วินาที

36.1.3 ผู้เล่นที่อยู่นอกพื้นที่กำหนดเวลา 3 วินาทีเขาจะต้องยืนด้วยเท้าทั้ง 2 ข้าง บนพื้นสนามนอกพื้นที่กำหนดเวลาภายในเวลา
24 วินาที

37.1 กฎ

37.1.1 ไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม ผู้เล่นได้ครอบครองบอลดีในสนาม ทีมของเขาต้องพยายามยิงประตูเพื่อทำคะแนนภายในเวลา 24 วินาที
การยิงประตูเพื่อทำคะแนนต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- ลูกบอลต้องหลุดจากมือของผู้ยิงประตูเพื่อทำคะแนนก่อนสัญญาณเสียงของเครื่องจับเวลา 24 วินาที และ
- หลังจากลูกบอลหลุดจากมือของผู้ยิงประตูเพื่อทำคะแนนแล้ว ลูกบอลต้องถูกห่วงหรือลงห่วงประตู

37.1.2 เมื่อมีความพยายามการยิงประตูเพื่อทำคะแนนในช่วงใกล้หมดเวลา 24 วินาที และสัญญาณเสียงดังขึ้นในขณะที่ลูกบอล
ลอยอยู่ในอากาศ ภายหลังลูกบอลหลุดจากมือของผู้ยิงประตูเพื่อทำคะแนน
- ถ้าลูกบอลลงห่วงประตู ไม่เป็นการทำผิดระเบียบ 24 วินาที มองข้ามสัญญาณเสียงนั้น และจะเป็นคะแนนนับ
- ถ้าลูกบอลถูกห่วงแต่ไม่ลงห่วงประตูไม่เป็นการทำผิดระเบียบ 24 วินาที มองข้ามสัญญาณเสียงนั้นและการเล่นจะดำเนินต่อไป
- ถ้าลูกบอลถูกกระดานหลัง (ไม่ถูกห่วง)หรือยิงประตูไม่ถึงห่วง เป็นการทำผิดระเบียบ 24 วินาที
และให้ฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่บริเวณซึ่งเป็นจุดที่พยายามยิงประตู ข้อจำกัดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกัน
สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการขัดขวางลูกบอลลงห่วงประตู และการเกี่ยวข้องกันบอลเหนือห่วง

37.2 วิธีการปฏิบัติ

37.2.1 ถ้าเครื่องจับเวลา 24 วินาทีเกิดการผิดพลาดเกี่ยวกับการเริ่ม 24 วินาทีใหม่ ผู้ตัดสินอาจจะหยุดเกมการแข่งขันทันทีที่พบข้อ
ผิดพลาด แต่ต้องไม่ทำให้ทีมใดทีมหนึ่งเสียเปรียบ

37.2.2 ถ้าเกมการแข่งขันหยุดโดยผู้ตัดสินเพื่อชี้แจ้งเหตุผลซึ่งไม่เกี่ยวกับแต่ละทีม เวลา 24 วินาที จะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง
และให้ทีมก่อนหน้านี้ที่ครอบครองบอลอยู่ส่งบอลข้ามเล่นเว้นเสียแต่ว่า ผู้ตัดสินวินิจฉัยว่าฝ่ายตรงข้ามเสียเปรียบ ในกรณีนี้ 24 วินาที
จะเดินต่อไปจากที่หยุดไว้

37.2.3 ถ้าสัญญาณเสียง 24 วินาที ดังขึ้นเพราะเกิดการผิดพลาด ในขณะที่มีครอบครองบอล
หรือไม่มีทีมใดครอบครองบอลให้มองข้ามสัญญาณเสียงนั้นและการเล่นจะดำเนินต่อไป

38.1 คำจำกัดความ
ผู้เล่น ซึ่งถือบอลดีในสนาม ถูกป้องกันอย่างใกล้ชิดเมื่อฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในตำแหน่งการป้องกันที่ระยะ ทางไม่เกินกว่า 1 เมตร

38.2 กฎ
การป้องกันอย่างใกล้ชิด ผู้เล่นต้องส่ง ยิงประตู หรือเลี้ยงลูกบอลภายใน 5 วินาที

39.1 กฎ

39.1.1 ไม่ว่าเมื่อใดผู้เล่นครอบครองบอลดีในแดนหลังของเขา ทีมของเขาต้องพาลูกบอลไปยังแดนหน้าภายในเวลา 8 วินาที

39.1.2 แดนหลังของทีมประกอบด้วยห่วงประตูของทีมตนเองที่อยู่ภายในบางส่วนของกระดานหลังและบางส่วนของเขตสนาม
โดยเส้นหลังที่อยู่หลังห่วงประตูของทีมตนเอง รวมถึงเส้นข้างและเส้นกึ่งกลางสนาม

39.1.3 พื้นสนามแดนหน้าของทีมประกอบด้วยห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม ด้านหน้าของกระดานหลัง
และบางส่วนของสนามกำหนดโดยเส้นหลังที่อยู่ด้านหลังห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามเส้นข้างและขอบของเส้นกึ่งกลางสนามด้าน
ใกล้กับห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม

39.1.4 ลูกบอลขึ้นสู่แดนหน้าของทีม เมื่อลูกบอลถูกพื้นสนามในแดนหน้า หรือถูกผู้เล่นหรือถูกผู้ตัดสินซึ่งร่างกายบางส่วนของเขา
สัมผัสพื้นแดนหน้า

40.1 คำจำกัดความ

40.1.1 ลูกบอลกลับสู่แดนหลังของทีม เมื่อ
- ถูกพื้นสนามในแดนหลัง
- ถูกผู้เล่นหรือผู้ตัดสินซึ่งบางส่วนของร่างกายสัมผัสพื้นสนามในแดนหลัง

40.1.2 การพิจารณาลูกบอลกลับสู่แดนหลังเมื่อผู้เล่นของทีมครอบครองบอลดี
- เป็นคนสุดท้ายที่ถูกลูกบอลในแดนหน้าและผู้เล่นทีมเดียวกันเป็นคนแรกที่ถูกลูกบอล
- หลังจากลูกบอลถูกพื้นสนามในแดนหลังหรือ
- ถ้าผู้เล่นคนนั้นถูกพื้นสนามในแดนหลัง
- เป็นคนสุดท้ายที่ถูกลูกบอลในพื้นสนามแดนหลังภายหลังลูกบอลถูกพื้นสนามแดน หน้าและผู้เล่นของทีมเดียวกันซึ่งสัมผัสในแดนหลัง
เป็นคนแรกที่ถูกลูกบอลข้อกำหนดนี้นำประยุกต์ไปใช้กับทุกสถานการณ์ในแดนหน้าของทีม รวมทั้งการส่งบอกเข้าเล่น

40.2 กฎ
ผู้เล่นซึ่งครอบครองบอลดีในแดนหน้า ไม่อาจทำให้ลูกบอลกลับสู่แดนหลัง ข้อกำหนดนี้จะไม่นำไปประยุกต์ใช้กับการส่งบอลเข้าเล่น
จากนอกสนาม ในการโยนโทษที่ตามด้วยการครอบครองบอลเพื่อส่งเข้ามาเล่นที่จุดกึ่งกลางสนามที่เส้นข้าง

41.1 คำจำกัดความ

41.1.1 การยิงประตู คือเมื่อถือลูกบอลไว้ในมือและมีแนวโน้มว่าจะโยนลูกบอลไปในอากาศตรงไปยังห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม
การปัด คือ เมื่อลูกบอลมีทิศทางตรงไปยังห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ การยัดห่วง คือเมื่อลูกบอลมีทิศทางตรงไปตรงยัง
ห่วงประตู ของฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ การปัดและการยัดห่วง พิจารณาเป็นการยิงประตู

41.1.2 การยิงประตูเริ่มต้นเมื่อลูกบอลหลุดจากมือของผู้เล่นซึ่งอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู

41.1.3 การยิงประตู สิ้นสุดเมื่อลูกบอล
- ลงห่วงประตูโดยตรงจากด้านบน และค้างอยู่ภายในหรือผ่านห่วงประตูลงมา
- ไม่มีโอกาสที่จะลงห่วงประตู โดยตรงหรือหลังจากลูกบอลถูกห่วง
- ถูกลูกบอลอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นหลังจากลูกบอลถูกห่วง
- ถูกพื้นสนาม
- เป็นบอลตาย

41.2 กฎ

41.2.1 การขัดขวางลูกบอลลงห่วงประตู เกิดขึ้นระหว่างการยิงประตู เมื่อ
- ผู้เล่นถูกลูกบอลในขณะที่ลูกบอลลอยลงมาและลูกบอลอยู่เหนือห่วง
- ผู้เล่นถูกลูกบอลหลังจากลูกบอลถูกกระดานหลังและลูกบอลอยู่เหนือห่วง
การประยุกต์ใช้นี้จะจำกัดเฉพาะจนกว่าลูกบอลไม่มีโอกาสลงห่วงประตูโดยตรงหรือหลังจากลูกบอลถูกห่วง

41.2.2 การเกี่ยวข้องกับลูกบอลเหนือห่วง เกิดขึ้นระหว่างการยิงประตู เมื่อ
-ผู้เล่นถูกห่วงประตูหรือกระดานหลังในขณะที่ลูกบอลถูกห่วง
- ผู้เล่นยื่นมือทะลุห่วงประตูจากด้านล่างและถูกลูกบอล
- ผู้เล่นฝ่ายป้องกันถูกลูกบอลหรือห่วงประตูในขณะที่ลูกบอลอยู่ภายในห่วงประตู
- ผู้เล่นฝ่ายป้องกันทำให้กระดานหลังหรือห่วงสั่นแกว่งไปมาในทิศทางของลูกบอล
การพิจารณาของผู้ตัดสินพิจารณาเป็นการขัดขวางลูกบอลลงห่วงประตู

41.2.3 ในขณะที่ลูกบอลลอยอยู่ในอากาศระหว่างการยิงประตู
และหลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีดหรือขัดขวางลูกบอลลงห่วงประตูและการเกี่ยวข้องกับลูกบอลเหนือห่วง จะนำประยุกต์ใช้

41.3 บทลงโทษ

41.3.1 ถ้าเป็นการทำผิดระเบียบโดยฝ่ายรุก ไม่นักคะแนน ให้ฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลเข้าเล่นตามแนวเส้นโยนโทษ

41.3.2 ถ้าเป็นการทำผิดระเบียบโดยฝ่ายรับจะให้ทีมฝ่ายรุก
- ได้คะแนนนับ 2 คะแนน เมื่อปล่อยลูกบอลจากพื้นที่การยิงประตู 2 คะแนน
- ได้คะแนนนับ 3 คะแนน เมื่อปล่อยลูกบอลจากพื้นที่การยิงประตู 3 คะแนน
การให้คะแนนนับ และวิธีการปฏิบัติที่ตามมาเสมือนว่าเป็นการได้คะแนน และเริ่มใหม่จากลูกบอลลงห่วงประตู

41.3.3 ถ้ากระทำผิดระเบียบพร้อม ๆ กัน โดยผู้เล่นทั้ง 2 ทีม ไม่นับคะแนนและเกิดสถานการณ์การเล่นลูกกระโดดขึ้น

42.1 คำจำกัดความ
การฟาล์วเป็นการละเมิดกติกาที่มีผลต่อการถูกต้องตัวกันของบุคคลที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกัน และ/หรือเป็นพฤติกรรมที่ผิดวิสัยนักกีฬา

42.2 กฎ
การฟาล์วที่ขานต่อผู้กระทำผิด และบทลงโทษตามมาต้องสอดคล้องกับกติกา

43.1 คำจำกัดความ

43.1.1 ในเกมการแข่งขันบาสเกตบอลมีผู้เล่น 10 คน เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วในพื้นที่อันจำกัด การถูกต้องตัวกันของบุคคลไม่สามารถ
หลีกเลี่ยงได้

43.1.2 ในการตัดสินใจว่าจะลงโทษการถูกต้องตัวกันดังกล่าวหรือไม่นั้น ผู้ตัดสินจะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงและความสมดุลของ
หลักการพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
- ความตั้งใจและเจตนาของกติกาต้องการนำไปสู่การสนับสนุนเกมการแข่งขัน
- มีความคงที่ในการนำหลักการไปใช้ของ “การได้เปรียบ/การเสียเปรียบ” ทั้งนี้ ผู้ตัดสินไม่ควรขัดขวางการลื่นไหลของเกมการแข่งขัน
โดยไม่จำเป็น ในการสั่งลงโทษการถูกต้องตัวกันซึ่งเกิดขึ้นโดยบังเอิญและไม่ช่วยให้ผู้เล่น คนนั้นได้เปรียบหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียเปรียบ
- มีความคงที่ในการใช้สามัญสำนึกในการตัดสินแต่ละเกมการแข่งขัน โดยคำนึงถึงความสามารถ ความรู้สึกเจตคติ
และพฤติกรรมของผู้เลยระหว่างเกมการแข่งขัน
- มีความคงที่ระหว่างการควบคุมเกมการแข่งขันและการให้การแข่งขันลื่นไหล พยายามใช้ “ความรู้สึก”
ร่วมในสิ่งที่ผู้เล่นพยายามกระทำและขานสิ่งที่ถูกต้องสำหรับเกมการแข่งขัน

44.1 คำจำกัดความ

44.1.1 ฟาล์วบุคคล เป็นการฟาล์วของผู้เล่นซึ่งมีการถูกต้องกันกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามในขณะเป็นบอลดีหรือบอลตาย
ผู้เล่นจะต้องไม่ดึง สกัดกั้น ผลัก เข้าชนขัดขาขัดขวางการเคลื่อนที่ของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามโดยการยื่นมือ แขนข้อศอก ไหล่ สะโพก
ขา เข่า หรือเท้า รวมทั้งการก้มตัวที่ผิดไปจากตำแหน่งปกติ (ออกจากแนวรูปทรงกระบอก) หรอใช้วีการหยาบคายอื่น ๆ หรือการเล่นที่
รุนแรง

44.1.2 การสกัดกั้น (Blocking) เป็นการถูกต้องตัวกันอย่างผิดกติกา ซึ่งขัดขวางการเคลื่อนที่ของผู้เล่นขณะมีลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล

44.1.3 การชน (Charging) เป็นการถูกต้องตัวกันขณะมีลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล โดยการผลัดหรือเคลื่อนที่เข้าหาลำตัวของผู้เล่นฝ่าย
ตรงข้าม

44.1.4 การป้องกันที่ถูกต้องจากด้านหลัง (Illegal guarding from the rear) เป็นการถูกต้องตัวกันของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจากด้าน
หลัง ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เล่นฝ่ายรับพยายามเล่นลูกบอลไม่ใช่แสดงว่าเป็นการถูกต้องตัวฝ่ายตรงข้ามจากด้านหลัง

44.1.5 การดึง (Holding) เป็นการถูกต้องตัวกันของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามซึ่งขัดขวางผู้เล่นที่เคลื่อนที่อย่างอิสระการถูกต้องตัวกันนี้
(การดึง) สามารถเกิดขึ้นได้กับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

44.1.6 การกำบังที่ผิดกติกา (Illegal screening) เป็นความพยายามที่ผิดกติกาเพื่อให้เกิดความล่าช้าหรือขัดขวางการเคลื่อนท
ี่ของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ซึ่งไม่ได้ครอบครองลูกบอลจากตำแหน่งที่เขาต้องการในสนาม

44.1.7 การใช้มืออย่างผิดกติกา (Illegal use of hands) เกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นฝ่ายรับอยู่ในสถานการณ์ป้องกัน และใช้มือสัมผัสและ
ยังคงถูกต้องตัวกันกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่มีลูกบอล หรือปราศจากลูกบอลเพื่อขัดขวางการเคลื่อนที่ของเขา

44.1.8 การผลัก (Pushing) เป็นการถูกต้องตัวกัน ด้วยส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นออกแรงดันหรือพยายามทำให้
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเคลื่อนออกจากตำแหน่ง ซึ่งผู้กระทำนี้จะครอบครองลูกบอลหรอืไม่ได้ครอบครองลูกบอลก็ตาม

44.2 บทลงโทษ (Penalty)
การฟาล์วบุคคลจะขานต่อผู้ที่ละเมิดในทุกกรณี ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เพิ่มเติม

44.2.1 ถ้าการฟาล์วเป็นการกระทำต่อผู้เล่นซึ่งไม่อยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู
- เกมการแข่งขันจะเริ่มต้นใหม่โดยส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามโดยทีมที่ไม่ได้ละเมิดใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุด
- และถ้าทีมที่ละเมิดเป็นทีมที่กระทำฟาล์วบทลงโทษให้นำกติกาข้อ 55 (บทลงโทษของการฟาล์วทีม) จะนำมาประยุกต์ใช้

44.2.2 ถ้ากการฟาล์วกระทำต่อผู้เล่นซึ่งอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู
- และการยิงประตูตามพื้นที่เป็นผล จะนับคะแนนและได้โยนโทษอีก 1 ครั้ง
- และการยิงประตูในพื้นที่ 2 คะแนน ลูกบอลไม่ลงห่วงประตู ให้โยนโทษ 2 ครั้ง
- และการยิงประตูในพื้นที่ 3 คะแนน ลูกบอลไม่ลงห่วงประตู ให้โยนโทษ 3 ครั้ง
- และผู้เล่นกระทำฟาล์วในขณะที่หรือก่อนสัญญาณเสียงของนาฬิกาแข่งขันดังขึ้น เป็นการแสดงถึงการสิ้นสุดเวลาช่วงการเล่น
หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ หรือเมื่อสัญญาณเสียงของเครื่องจับเวลา 24 วินาที ดังขึ้น ในขณะที่ลูกบอลยังคงอยู่ในมือของผู้เล่นและ
การยิงประตูเป็นผล จะไม่นับคะแนน จะให้โยนโทษ 2 ครั้งหรือ 3 ครั้ง

44.3 หลักการของรูปทรงกระบอก (Cylinder principle)
หลักการของรูปทรงกระบอก เป็นการอธิบายถึงที่ว่างภายในรูปทรงกระบอกที่สร้างขึ้นโดยจินตนาการ เกิดขึ้นโดยผู้เล่นยืนอยู่บน
พื้นสนาม ประกอบด้วยพื้นที่สูงขึ้นไปในอากาศเหนือผู้เล่นและถูกจำกัด ดังต่อไปนี้
- ด้านหน้า โดยฝ่ายมือทั้ง 2 ข้าง
- ด้านหลัง โดยสะโพกหรือก้นและ
- ด้านข้าง โดยส่วนนอกสุดของแขนและเขา
มือและแขนอาจยื่นไปด้านหน้าของลำตัวได้ แต่ต้องไม่ออกไปไกลเกินกว่าตำแหน่งของเท้าประมาณช่วงไหล่ แขนช่วงแรกด้านใน
และมือยกขึ้น เป็นระยะทางระหว่างเท้าของเขเป็นสัดส่วนกับความสูงของเขาด้วย

44.4 หลักการของแนวดึง (Principle of verticality)

44.4.1ในสนามบาสเกตบอล ผู้เล่นแต่ละคนมีสิทธิ์ที่จะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง (รูปทรงกระบอก) ในสนามซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งที่ฝ่าย
ตรงข้ามยืนอยู่ก่อน

44.4.2 หลักการนี้ใช้ป้องกันพื้นที่ในสนาม ซึ่งผู้เล่นคนนั้นยืนอยู่ และพื้นที่ที่สูงขึ้นไปในอากาศเหนือผู้เล่น เมื่อผู้เล่นกระโดดขึ้นไป
เป็นแนวดึ่งภายในรูปทรงกระบอกของตน

44.4.3 ทันทีที่ผู้เล่นออกจากพื้นที่ในแนวดิ่งของเขา (รูปทรงกระบอก) และมีการถูกต้องตัวกันกับฝ่ายตรงข้ามซึ่งยืนในตำแหน่ง
แนวดิ่งของเขา (รูปทรงกระบอก) ผู้เล่นซึ่งออกจากตำแหนงแนวดึ่ง (รูปทรงกระบอก) ต้องรับผิดชอบต่อการถูกต้องตัวกัน

44.4.4 ผู้เล่นฝ่ายรับจะไม่ถูกลงโทษสำหรับการกระโดดขึ้นจากพื้นที่แนวดิ่ว (ภายในรูปทรงกระบอก) หรือยกมือและแขนขึ้นไป
ในพื้นที่แนวดึ่งของเขาและภายในรูปทรงกระบอกของตนเอง

44.4.5 ผู้เล่นฝ่ายรุกไม่ว่าจะอยู่บนพื้นหรือลอยตัวอยู่ในอากาศ จะต้องไม่ทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันกับผู้เล่นฝ่ายรับในตำแหน่งการ
ป้องกันที่ถูกต้อง โดย
- การใช้แขนช่วยเพิ่มพื้นที่ของตนเอง (การกวาดแขนออก)
- การแยกขาหรือแขนจนทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันระหว่างหรือต่อเนื่องภายหลังการยิงประตู

44.5 ตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง (Legal Guarding Position)

44.5.1 ผู้เล่นฝ่ายรับเข้าไปยืนในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง เมื่อ
- ผู้เล่นหันหน้าเข้าหาฝ่ายตรงข้ามและ
- เท้าทั้ง 2 ข้างของผู้เล่นอยู่บนพื้นสนาม

44.5.2 ตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้องเป็นแนวดิ่งสูงขึ้นไปเหนือผู้เล่น (รูปทรงกระบอก) จากพื้นสนามถึงเพดาน เขาอาจจะยกแขนและ
มือเหนือศีรษะของเขาขึ้นไป หรือกระโดดขึ้นไปตามแนวดิ่ง แต่ต้องให้อยู่ในตำแหน่งแนวดิ่งภายในแนวรูปทรงกระบอก

44.6 การป้องกันผู้เล่นซึ่งครอบครองบอล (Guarding a player who controls the ball)

44.6.1 เมื่อป้องกันผู้เล่นซึ่งครอบครองบอล (ผู้เล่นกำลังถือลูกบอลหรือกำลังเลี้ยงลูกบอล) องค์ประกอบของเวลาและระยะทางจะ
ไม่นำมาประยุกต์ใช้

44.6.2 ผู้เล่นที่ครอบครองบอลต้องเชื่อว่าจะต้องถูกป้องกันและต้องพร้อมที่จะหยุดหรือเปลี่ยนทิศทาง แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้าม
ต้องอยู่ในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง ด้านหน้าของเขาแม้ว่าการป้องกันจะกระทำภายในช่วงเสี้ยวของวินาที

44.6.3 การป้องกัน (ฝ่ายรับ) ผู้เล่นต้องยืนในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง ปราศจากการถูกต้องตัวกัน ก่อนที่จะเข้าไปยืนในตำแหน่ง
ของเขา

44.6.4 เมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นฝ่ายรับเข้าไปยืนในตำแหน่งป้องกันที่ถูกต้อง เขาอาจเคลื่อนที่เพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามของเขา แต่เขา
ไม่อาจยื่นแขน ไหล่ สะโพก หรือขาของเขา และทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันเพื่อขัดขวางผู้เลี้ยงลูกบอลผ่านตนเอง

44.6.5 เมื่อตัดสินเป็นการสกัดกั้น/ การชมผู้เล่นในขณะที่ผู้เล่นมีลูกบอล ผู้ตัดสินจะต้องใช้หลักการ ดังต่อไปนี้
- ผู้เล่นฝ่ายรับต้องเข้าไปในตำแหน่งป้องกันที่ถูกต้องโดยหันหน้าเข้าหาผู้เล่นที่มีลูกบอลและเท้าทั้ง 2 ข้าง อยู่บนพื้นสนาม
- ผู้เล่นฝ่ายรับอาจจะอยู่ในท่ายืนนิ่ง กระโดดขึ้นตามแนวดิ่ง หรือเคลื่อนที่ไปด้านข้าง หรือถอยหลังเพื่ออยู่ในตำแหน่งการป้องกันที่
ี่ถูกต้อง
- เมื่อเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในตำแหน่งการป้องกัน เท้าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง อาจพ้นจากพื้นได้ชั่วขณะหนึ่ง ตราบใดที่การ
เคลื่อนที่ด้านข้างหรือถอยหลัง ไม่หันไปสู่ผู้เล่นที่ถือลูกบอล เป็นการเคลื่อนที่ป้องกันตามปกติ
- การถูกต้องตัวกันที่เกิดขึ้นต่อลำตัวในขณะผู้เล่นฝ่ายรับได้เข้าไปอยู่ในตำแหน่งนั้นก่อน
- การกำหนดตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้องผู้ป้องกันอาจเปลี่ยนทิศทางภายในรูปทรงกระบอก เพื่อรับแรงกระแทรกหรือหลีกเลี่ยง
การบาดเจ็บ ในกรณีข้างบนการฟาล์วจะพิจารณาเป็นกระทำฟาล์วโดยผู้เล่นที่ครอบครองบอล

44.7 ผู้เล่นซึ่งลอยตัวอยู่ในอากาศ (The player who is in the air)

44.7.1 ผู้เล่นซึ่งกระโดดขึ้นไปในอากาศจากจุดใดในสนามมีสิทธิ์ที่จะลงสู่พื้นสนามที่จุดเดิม

44.7.2 เขามีสิทธิ์ที่จะลงสู่พื้นที่จุดอื่นในสนามได้โดย มีข้อแม้ว่าเส้นทางระหว่างจุดกระโดดและจุดที่ลงสู่พื้นต้องไม่มีฝ่ายตรงข้าม
ยืนอยู่ก่อน และพื้นที่จุดนั้นต้องไม่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ก่อนในช่วงเวลาที่ตนเองกระโดดขึ้น

44.7.3 ถ้าผู้เล่นกระโดดและลงสู่พื้น แต่แรงการเคลื่อนที่ทำให้เกิดการถูกต้องตัวฝ่ายตรงข้ามซึ่งอยู่ในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง
ที่อยู่ไกลออกไปจากจุดที่ลงสู่พื้น ผู้กระโดดต้องรับผิดชอบสำหรับการถูกต้องตัวกัน

44.7.4 ผู้เล่นไม่อาจเคลื่อนที่เข้าไปในทิศทางของฝ่ายตรงข้าม หลังจากผู้เล่นนั้นกระโดดขึ้นไปในอากาศแล้ว

44.7.5 การเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ใต้ผู้เล่นซึ่งลอยตัวอยู่ในอากาศและมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น เป็นการฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาอย่างชัดเจน
อาจเป็นฟาล์วเสียสิทธิ์ได้

44.8 การป้องกันผู้เล่นซึ่งไม่ได้ครอบครองบอล (Guarding a player who not control the ball)

44.8.1 ผู้เล่นซึ่งไม่ได้ครอบครองบอลมีสิทธิ์เคลื่อนที่อย่างอิสระในสนามและยืนในตำแหน่งใดก็ได้ที่ไม่มีผู้เล่นคนอื่นยืนอยู่ก่อน

44.8.2 เมื่อการป้องกันของผู้เล่นซึ่งไม่ได้ครอบครองบอล
องค์ประกอบของเวลาและระยะทางจะนำประยุกต์ใช้และ/หรือเกินไปในเส้นทางของการเคลื่อนที่ของฝ่ายตรงข้ามจนทำให้ผู้เล่น
นั้นไม่มีเวลาหรือระยะทางเพียงพอที่จะหยุดหรือเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่ ระยะทางเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเร็ว
ของฝ่ายตรงข้ามไมน้อยกว่า 1 ก้าวปกติ และไม่เกิน 2 ก้าวปกติ ถ้าผู้เล่นไม่พิจารณาองค์ประกอบของเวลาและระยะทาง
ในการเข้าไปยังตำแหน่งการป้องกันอย่างถูกต้อง และการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น ผู้เล่นคนนั้นต้องรับผิดชอบสำหรับการถูกต้องตัวนั้น

44.8.3 เมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นฝ่ายรับ ยืนอยู่ในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง จะต้องไม่ถูกต้องตัวกันฝ่ายตรงข้ามเพื่อป้องกันไม่ให้ผ่าน
โดยการยื่นแขน ไหล่ สะโพก หรือขา เข้าขัดขวางเส้นทางอย่างไรก็ตาม เขาอาจหันข้างหรือให้แขนแนบข้างหน้าและชิดลำตัว
เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ

44.9 การกำบังที่ถูกกติกาและผิดกติกา (Screening : Legal and illegal)

44.9.1 การกำบังเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นพยายามขัดขวางหรือป้องกันฝ่ายตรงข้างซึ่งไม่ได้ครอบครองบอลให้ไปยังตำแหน่งที่เขาต้องการ
ในสนาม

44.9.2 การกำบังถูกต้องเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นซึ่งกำบังฝ่ายตรงข้ามต้องปฏิบัติดังนี้
- ยืนนิ่ง (ด้านในรูปทรงกระบอกของเขา) เมื่อมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น - เท้าทั้ง 2 ข้าง อยู่บนพื้นสนามเมื่อมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น

44.9.3 การกำบังที่ผิดกติกาเกิดขึ้น เมื่ผู้เล่นซึ่งกำบังฝ่ายตรงข้ามต้องปฏิบัติดังนี้
- กำลังเคลื่อนที่เมื่อมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น
- ไม่ให้ระยะทางเพียงพอในการกำบังนอกสายตาฝ่ายตรงข้ามที่ยืนนิ่งเมื่อเกิดการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น
- ไม่เคราพองค์ประกอบของเวลาและระยะทางในการกำบังฝ่ายตรงข้ามที่เคลื่อนที่เมื่อเกิดการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น

44.9.4 ถ้าการกำบังอยู่ในสายตาของฝ่ายตรงข้ามที่ยืนนิ่ง (ด้านหน้าหรือด้านข้าง) ผู้เล่นที่กำบังอาจจะทำการกำบังอย่างใกล้ชิด
ต่อฝ่ายตรงข้าม โดยมีข้อแม้ว่าไม่มีการถูกต้องตัวกัน

44.9.5 ถ้าการกำบังอยู่นอกสายตาของฝ่ายตรงข้ามที่ยืนนิ่ง การกำบังต้องให้โอกาสฝ่ายตรงข้าม 1 ก้าวปกติ
ในการเข้ากำบังโดยไม่มีการถูกต้องตัวกัน

44.10 การสกัดกั้น (Blocking)

44.10.1 ผู้เล่นซึ่งพยายามกำบังเป็นการกระทำฟาล์วเพราะสกัดกั้น ถ้ามีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น เมื่อเขากำลังเคลื่อนที่และฝ่ายตรงข้าม
ยืนนิ่ง หรือถอยออกจากผู้เล่นที่กำบัง

44.10.2 ถ้าผู้เล่นไม่สนใจเล่นลูกบอล หันหน้าเข้าหาฝ่ายตรงข้ามและปลี่ยนตำแหน่งตามฝ่ายตรงข้ามที่เปลี่ยนตำแหน่ง เสียจากว่ามีปัจจัยอื่นที่มีผลมาร่วมด้วย
คำว่า “ปัจจัยอื่นที่มีผลมาร่วมด้วย” หมายถึงการจงใจผลัก ชน หรือดึงของผู้เล่นซึ่งถูกกำบัง

44.10.3 ผู้เล่นยื่นแขนหรือศอกนอกรูปทรงกระบอกในการยืนบนพื้นสนามได้ แต่เขาจะต้องลดแขนหรือศอกลงภายในรูปทรงกระบอก
เมื่อฝ่ายตรงข้ามพยายามเคลื่อนที่ผ่านไป โดยถ้าผู้เล่นไม่ลดแขนหรือศอกลงและเกิดการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น จะเป็นการสกัดกั้นหรือการดึง

44.11 การถูกต้องตัวฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ และ/หรือแขน (Contacting an opponent with the hand(s) and/or arm(s))

44.11.1 การสัมผัสฝ่ายตรงข้ามด้วยมือตามปกติไม่จำเป็นต้องเป็นการละเมิดกติกา

44.11.2 ผู้ตัดสินจะต้องตัดสินใจว่าผู้เล่นซึ่งทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันนั้นเป็นฝ่ายได้เปรียบหรือไม่
ถ้าการถูกต้องตัวกันโดยผู้เล่นแสดงชัดเจนว่าจำกัดอิสระในการเคลื่อนที่ของฝ่ายตรงข้าม การถูกต้องตัวนั้นเป็นการฟาล์ว

44.11.3 การใช้มือหรือแขนอย่างถูกต้อง เมื่อผู้เล่นฝ่ายรับอยู่ในตำแหน่งการป้องกัน
และมือหรือแขนสัมผัสและยังคงถูกต้องตัวกันกับฝ่ายตรงข้ามที่ถือลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล

44.11.4 การถูกต้องตัวกันบ่อย ๆ หรือ “การแหย่” ฝ่ายตรงข้ามที่มีลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล พิจารณาเป็นการฟาล์ว
ซึ่งอาจนำไปสู่ความหยาบคายที่รุนแรงมากขึ้น

44.11.5 เป็นการฟาล์วของผู้เล่นฝ่ายรุกทีมีลูกบอลดังต่อไปนี้
- “งอแขนเกี่ยว“หรือพันด้วยแขนหรืองอข้อศอกกรอบผู้เล่นฝ่ายรับ เพื่อให้ได้เปรียบ
-“ผลักออก” เพื่อป้องกันผู้เล่นฝ่ายรับจากการเล่น หรือพยายามเล่นลูกบอล หรือเพื่อขยายพื้นที่ระหว่างตัวเองและผู้เล่นฝ่ายรับ
- ขณะเลี้ยงลูกบอลใช้แขนด้านในหรอืมือยืนออกไปเพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามเข้าแย่งบอลไปครอบครอง

44.12 การเล่นตำแหน่งโพสท์ (Post Play)

44.12.1หลักการของแนวดึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับการเล่นตำแหน่งโพสท์
ผู้เล่นฝ่ายรุกที่เล่นในตำแหน่งโพสท์และการป้องกันของฝ่ายตรงข้ามต้องเคราพสิทธิ์ของแนวดิ่งของคนอื่น ๆ (รูปทรงกระบอก)

44.12.2 เป็นฟาล์วโดยผู้เล่นฝ่ายรุก หรือผู้เล่นฝ่ายรับในตำแหน่งโพสท์
ใช้ไหล่หรือสะโพกเข้าไปในตำแหน่งของฝ่ายตรงข้ามหรือขัดขวางการเคลื่อนที่อย่างอิสระของฝ่ายตรงข้ามโดยยื่นข้อศอกแขน ขา
หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

45.1 คำจำกัดความ
การฟาล์วคู่เป็นการสถานการณ์ที่ผู้เล่นต่างฝ่ายกัน 2 คน กระทำฟาล์วซึ่งกันและกันในเวลาเดียวกัน

45.2 บทลงโทษ

45.2.1 จะขานเป็นฟาล์วบุคคลกับผู้เล่นแต่ละคนจะไม่ให้มีการโยนโทษ

45.2.2 เกมการแข่งขันจะเริ่มต้นใหม่โดย
- ถ้าการยิงประตูเป็นผล ในเวลาเดียวกันจะให้ฝ่ายตรงข้ามของทีมที่ทำคะแนนได้ ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นหลัง
- ถ้ามีทีมครอบครองบอลหรือทีมที่ได้สิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่น จะให้ส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามใกล้จุดที่กระทำฟาล์ว
- ถ้าไม่มีทีมใดครอบครองบอล ลูกบอลไม่ลงห่วงประตู จะเกิดสถานการณ์การเล่นลูกกระโดดขึ้น

46.1 คำจำกัดความ

46.1.1 การฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา เป็นการฟาล์วบุคคลซึ่งกระทำโดยผู้เล่น ในการพิจารณาของผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เล่นไม่พยายาม
เล่นลูกบอล โดยตรงภายใต้ความตั้งใจและเจตนาของกติกา

46.1.2 การฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาต้องได้รับการตีความเหมือนกันตลอดเกมการแข่งขัน

46.1.3 ผู้ตัดสินต้องพิจารณาจากการกระทำเท่านั้น

46.1.4 การพิจารณาว่าเป็นการฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาหรือไม่นั้น ผู้ตัดสินจะต้องนำหลักการต่อไปนี้มาประยุกต์ใช้
- ถ้าผู้เล่นไม่พยายามเล่นลูกบอลตามปกติและเกิดการถูกต้องตัวกันขึ้นเป็นฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา
- ถ้าผู้เล่นพยายามเล่นลูกบอลเกิดการถูกต้องตัวกันขึ้นรุนแรง (ฟาว์อย่างหนัก) การถูกต้องตัวกันนี้จะต้องพิจารณาเป็นฟาล์ว
ผิดวิสัยนักกีฬา)
- ถ้าผู้เล่นดึง ตี เตะ หรือผลักผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามอย่างตั้งใจ เป็นฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา
- ถ้าผู้เล่นกระทำฟาล์วในขณะพยายามเล่นลูกบอลอย่างบริสุทธิ์ใจ (การเล่นบาสเกตบอลตามปกติ) จะไม่เป็นการฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา

46.15 ผู้เล่นซึ่งกระทำฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาซ้ำบ่อย ๆ ต้องเป็นฟาล์วเสียสิทธิ์

45.2 บทลงโทษ

46.2.1 ฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาจะขานต่อผู้เล่นที่กระทำผิด

46.2.2 ทีมฝ่ายตรงข้ามจะได้โยนโทษ ตามด้วยการส่งบอลเข้าเล่นที่จุดกึ่งกลางสนาม
จำนวนครั้งของการโยนโทษจะเป็นดังต่อไปนี้
- ถ้ากระทำฟาล์วต่อผู้เล่นซึ่งไม่อยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู จะได้โยนโทษ 2 ครั้ง
- ถ้ากระทำฟาล์วต่อผู้เล่นอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู ถ้าเป็นผลจะนับคะแนนและได้โยนโทษเพิ่มอีก 1 ครั้ง
- ถ้ากระทำฟาล์วต่อผู้เล่นซึ่งอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู แต่ไม่เป็นผลจะได้โทษ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ตามพื้นที่จากความ
พยายามยิงประตู

47.1 คำจำกัดความ

47.1.1 การละเมิดกติกาที่ผิดวิสัยนักกีฬาอย่งโจ่งแจ้ง เป็นพฤติกรรมที่กระทำโดยผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
หรือผู้ติดตามทีม เป็นการฟาล์วเสียสิทธิ์

47.1.2 ผู้ฝึกสอนจะถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ เมื่อ
- ผู้ฝึกสอนถูกขานฟาล์วเทคนิค 2 ครั้ง (“C”) ซึ่งเป็นผลมาจากประพฤติกรรมตัวที่ผิดวิสัยนักกีฬาของผู้ฝึกสอนเอง
- ผู้ฝึกสอนถูกขานฟาล์วเทคนิค 3 ครั้ง
ซึ่งเป็นผลมาจากการประพฤติตัวที่ผิดวิสัยนักกีฬาของผู้ช่วยผู้ฝึกสอนผู้เล่น สำรองหรือผู้ติดตามทีมซึ่งนั่งอยู่ในที่นั่งของทีม
หรือเป็นฟาล์วเทคนิครวมกัน 3 ครั้ง ซึ่งจำนวน 1 ใน 3 เป็นฟาล์วเทคนิคของผู้ฝึกสอนเอง “C”

47.1.3 ผู้ฝึกสอนซึ่งถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์จะให้ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนที่มีชื่อในใบบันทึกคะแนนทำหน้าที่แทน ถ้าไม่มีผู้ช่วย
ผู้ฝึกสอนในใบบันทึกคะแนนจะต้องให้หัวหน้าทีมทำหน้าที่แทน

47.2 บทลงโทษ

47.2.1 การฟาล์วเสียสิทธิ์จะขานต่อผู้กระทำผิด

47.2.2 ผู้กระทำผิดจะเสียสิทธิ์และจะไปอยู่ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและพักอยู่ระหว่าง
เกมการแข่งขัน หรือถ้าเขาเลือกที่ออกจากอาคารสถานที่แข่งขันก็ได้

47.2.3 จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้โยนโทษตามด้วยการส่งบอลเข้าเล่นที่จุดกึ่งกลางสนาม จำนวนครั้งของการโยนโทษจะให้ตามฟาล์ว
ผิดวิสัยนักกีฬา กติกาข้อ 46.2.2

48.1 คำจำกัดความ

48.1.1 การดำเนินการจัดการแข่งขันให้ถูกต้องต้องได้รับความร่วมมืออย่างจริงใจของสมาชิกทั้ง 2 ทีม (ผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง
ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน และผู้ติดตามทีม) พร้อมด้วยผู้ตัดสินเจ้าหน้าที่โต๊ะ และกรรมการเทคนิค

48.1.2 แต่ละทีมจะต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อชัยชนะแต่การกระทำนี้ต้องมีจิตใจของความมีน้ำใจนักกีฬาและแข่งขันอย่างยุติธรรม

48.1.3 การจงใจกระทำหรือกระทำซ้ำบ่อย ๆ ไม่ให้ความร่วมมือ หรือไม่ยินยอมตามเจตนาของกติกา
จะพิจารณาเป็นฟาล์วเทคนิคและลงโทษตามกติกา

48.1.4 ผู้ตัดสินอาจจะไม่ขานเป็นฟาล์วเทคนิคโดยการเตือนสมาชิกของทีม หรือมองข้ามการกระทำผิดทางเทคนิคเล็กน้อย
ที่เกี่ยวกับ
บุคลิกของเขา ซึ่งไม่ได้ตั้งใจอย่างเห็นได้ชัด และไม่มีผลโดยตรงต่อเกมการแข่งขัน นอกเสียจากว่าเป็นการกระทำซ้ำ ๆ
ของการละเมิดกติกาเหมือนเดิมภายหลังการเตือน

48.1.5 ถ้าการกระทำผิดทางเทคนิคถูกพบหลังจากบอลดี เกมการแข่งขันจะหยุดและขานเป็นฟาล์วเทคนิค
บทลงโทษจะดำเนินการถ้าฟาล์วเทคนิคเกิดขึ้นระหว่างช่วงพักจะไม่เป็นโมฆะ

48.2 กฎ
การกระทำที่รุนแรงอาจเกิดขึ้นระหว่างเกมการแข่งขันที่ขัดต่อจิตใจของความมีน้ำใจนักกีฬาและการเล่นอย่างยุติธรรม
จะต้องหยุดเกมการแข่งขันทันทีโดยผู้ตัดสิน และถ้าจำเป็นอาจขอกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดูแล

48.2.1 แต่อย่างไรก็ตาม การทะเลาะวิวาทที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
และผู้ติดตามทีมซึ่งเกิดขึ้นในที่นั่งของทีม ผู้ตัดสินจะต้องใช้ทุกวิถีทางเพื่อจะระงับเหตุการณ์

48.2.2 บุคคลใดก็ตาม มีส่อพิรุธในการกระทำที่แสดงความก้าวร้าวอย่างโจ่งแจ้งต่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ตัดสิน
จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากเกมการแข่งขัน ผู้ตัดสินต้องรายงานเหตุการณ์ต่อฝ่ายจัดการแข่งขัน

48.2.3 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอาจเข้าไปในสนามได้ ถ้าได้รับการร้องขอจากผู้ตัดสินเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตามหาผู้ชมเข้าไปในสนามหากผู้ชมเข้าไปในสนามด้วยเจตนกระทำที่รุนแรงอย่างโจ่งแจ้งเจ้าหน้าที่ต้องเข้า
ขัดขวางทันทีทันใด เพื่อคุ้มครองทีมและผู้ตัดสิน

48.2.4 พื้นที่ทั้งหมดประกอบด้วย ทางเข้า ทางออก ทางเดินตามระเบียง ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ
จะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของฝ่ายจัดการแข่งขัน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัย

48.2.5 ลักษณะการกระทำของผู้เล่น ผู้เล่นสำรองผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน และผู้ติดตามทีม ซึ่งสามารถสั่งให้ทำความเสียหาย
ต่ออุปกรณ์ ทำให้เกมการแข่งขันล่าช้า ผู้ตัดสินต้องไม่อนุญาต

49.1 คำจำกัดความ

49.1.1 การฟาล์วเทคนิคโดยผู้เล่นเป็นการฟาล์วของผู้เล่น ซึ่งไม่เกี่ยวกับการถูกต้องตัวกันกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม

49.1.2 เป็นการฟาล์วเทคนิค เมื่อผู้เล่นมองข้ามการตักเตือนโดยผู้ตัดสิน หรือใช้กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้
- กล่าววาจาดูหมิ่นหรือถูกต้องตัวผู้ตัดสินกรรมการเทคนิค เจ้าหน้าที่โต๊ะ หรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
- ใช้ภาษาหรือแสดงท่าทางทำให้เจ็บช้ำ น้ำใจ หรือยั่วยุผู้ชม
- หลอกเล่นฝ่ายตรงข้ามหรือปิดบังสายตา โดยการโบกมือไปมาใกล้ ๆ ตาของฝ่ายตรงข้าม
- การถ่วงเวลาการแข่งขันโดยขัดขวางไม่ให้ส่งบอลเข้าเล่นอย่างรวดเร็ว
- ไม่ยกมือขึ้นตามมารยาท ภายหลังผู้ตัดสินร้องขอให้ยกมือขึ้นหลังผู้ตัดสินร้องขอให้ยกมือขึ้นหลังจากการฟาล์ว
- เปลี่ยนหมายเลขผู้เล่นโดยไม่แจ้งผู้บันทึกคะแนนและผู้ตัดสิน
- การออกจากสนามอย่างไม่มีเหตุผล
- การโหนห่วงลักษณะที่ห่วงรับน้ำหนักของผู้เล่นในสถานการณ์ยัดห่วง ผู้เล่นอาจจะ
- จับยึดห่วงไว้ชั่วครู่ และไม่ได้ตั้งใจ
- โหนห่วง ถ้าในการพิจารณาของผู้ตัดสินเห็นว่า เขากำลังพยายามที่จะป้องกันการบาดเจ็บต่อตัวเขาเองหรือผู้เล่นคนอื่น

49.2 บทลงโทษ

49.2.1 จะขานเป็นฟาล์วเทคนิคต่อผู้เล่น

49.2.2 จะให้ฝ่ายตรงข้ามโยนโทษ 1 ครั้ง ตามด้วยการส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่จุดกึ่งกลางสนาม

50.1 คำจำกัดความ

50.1.1 ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้เล่นสำรอง และผู้ติดตามทีม จะต้องไม่กล่าวคำดูหมิ่น หรือถูกต้องตัวผู้ตัดสิน กรรมการเทคนิค
เจ้าหน้าที่โต๊ะ หรือฝ่ายตรงข้าม

50.1.2 ผู้ฝึกสอน ผู้เล่นสำรอง และผู้ติดตามทีมเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ภายในที่นั่งของทีม ยกเว้น
- ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีม อาจจะเข้าไปในสนาม เพื่อดูแลผู้เล่นที่บาดเจ็บ ภายหลังได้รับอนุญาต
จากผู้ตัดสิน
- แพทย์อาจจะเข้าไปในสนามได้โดยปราศจากการอนุญาตจากผู้ตัดสินถ้าการพิจารณาของแพทย์เห็นว่าผู้เล่นที่บาดเจ็บอยู่ใน
อันตรายและต้องการดูแลอย่างรีบด่วน
- ผู้เล่นสำรองอาจจะร้องขอเปลี่ยนตัวได้โดยแจ้งที่โต๊ะบันทึกคะแนน
- ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีม อาจจะเข้าไปในสนามระหว่างการขอเวลานอก พูดกับสมาชิกทีมของ
ตนเองได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่นั่งของทีม แต่อย่างไรก็ตามผู้ฝึกสอนอาจจะพูดกับผู้เล่นของเขา
ระหว่างเกมการแข่งขัน โดยมีข้อแม้ว่าต้องอยู่ภายในพื้นที่ที่นั่งของทีม
- เมื่อนาฬิกาแข่งขันหยุด ผู้ฝึกสอน หรือผู้ช่วยฝึกสอน อาจจะซักถามข้อมูลสถิติจากโต๊ะผู้บันทึกคะแนนทั้งนี้ต้องกระทำอย่าง
สุภาพ และปราศจากการขัดขวางการดำเนินเกมการแข่งขันตามปกติ

50.2 บทลงโทษ

50.2.1 การฟาล์วเทคนิคจะขานต่อผู้ฝึกสอนที่กระทำผิด

50.2.2 จะให้ฝ่ายตรงข้ามโยนโทษ 2 ครั้ง ตามด้วยการส่งบอลเข้าเล่นที่จุดกึ่งกลางสนาม

51.1 คำจำกัดความ
การฟาล์วเทคนิคอาจขานระหว่างช่วงพักการแข่งขันซึ่งเป็นช่วงก่อนเริ่มการแข่งขัน (20 นาที) และช่วงพักระหว่างช่วงการเล่น
พักครึ่งเวลา และช่วงพักก่อนเริ่มช่วงต่อเวลาพิเศษแต่ละช่วงพักการแข่งขันเริ่มตั้งแต่ 20 นาที ก่อนเริ่มเกมการแข่งขัน
หรือสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาดังขึ้นสำหรับการสิ้นสุดเวลาการเล่นของแต่ละช่วงการเล่น
ช่วงพักการแข่งขัน สิ้นสุดเมื่อ
- เริ่มการแข่งขันช่วงการเล่นที่ 1 ช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงต่อเวลาพิเศษ เมื่อลูกบอลถูกปัดในขณะเล่นลูกกระโดด
- เริ่มการแข่งขันช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 4 เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นหรือผู้เล่นลูกบอลในการส่งบอลเข้าเล่น

51.2 บทลงโทษ
ถ้าขานฟาล์วเทคนิค ต่อ
- สมาชิกของทีมมีสิทธิ์ลงแข่งขัน ให้ขานฟาล์วเทคนิคต่อสมาชิกของทีมนั้น เป็นการฟาวล์ของผู้เล่นและจะให้ฝ่ายตรงข้าม
ได้โยนโทษ 2 ครั้ง จะนับเป็นฟาล์ว 1 ครั้ง ของการฟาล์วทีม
- ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้เล่นที่เป็นผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีมขานเป็นฟาล์วเทคนิคต่อผู้ฝึกสอน และให้ฝ่ายตรงข้ามได้
โยนโทษ 2 ครั้ง จะไม่นับเป็นฟาล์ว 1 ครั้งของการฟาล์วทีม
- ถ้ามีการขานฟาล์วเทคนิคมากกว่า 1 ครั้ง ดูกติกาข้อ 56 (สถานการณ์พิเศษ)

51.3 วิธีการปฏิบัติ
หลังการโยนโทษสิ้นสุด ช่วงการเล่นและช่วงต่อเวลาพิเศษจะเริ่มด้วยการเล่นลูกกระโดที่วงกลมกลางหรือ ส่งบอลเข้าเล่นตามกติกา

52.1 คำจำกัดความ
การชกต่อยเป็นการกระทบกระทั่งเกี่ยวกับร่างกายระหว่างบุคคล 2 คน หรือมากกว่า (ผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
และผู้ติดตามทีม) กติกาข้อนี้ประยุกต์ใช้เฉพาะ ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอนผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีม ซึ่งออกจากบริเวณที่นั่งของทีม
ระหว่างการชกต่อยหรือระหว่างสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การชกต่อย

52.2 กฎ

52.2.1 ผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีมซึ่งออกจากบริเวณที่นั่งของทีมระหว่างการชกต่อยหรือระหว่างสถานการณ์ใด ๆ
ซึ่งอาจนำไปสู่การชกต่อย จะถูกปรับให้เสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน

52.2.2 เฉพาะผู้ฝึกสอน และ/หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่อนุญาตให้ออกจากบริเวณที่นั่งของทีมระหว่างการชกต่อยหรือ
ระหว่างสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การชกต่อย เพื่อช่วยผู้ตัดสินควบคุมหรือระงับเหตุการณ์ให้กลับคือสภาพเดิม
ในสถานการณ์ ผู้ฝึกสอน และ/หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนจะไม่ถูกปรับให้เสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน

52.2.3 ถ้าผู้ฝึกสอน และ/หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ออกจากบริเวณที่นั่งของทีม และไม่ช่วยหรือไม่พยายามช่วยผู้ตัดสินควบคุมหรือ
ระงับเหตุการณ์ จะถูกปรับให้เสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน

52.3 บทลงโทษ

52.3.1 ไม่พิจารณาถึงการฟาล์วเสียสิทธิ์ของผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีม ถูกปรับเป็นเสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน ซึ่งออกจาก
บริเวณที่นั่งของทีม สัญลักษณ์การฟาล์วเทคนิค จะขานต่อผู้ฝึกสอน

52.3.2 ในกรณีที่สมาชิกของทั้ง 2 ทีม ถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ตามกติกาข้อนี้ และไม่มีการลงโทษของฟาล์วอื่น
จะเกิดสถานการณ์การเล่นลูกกระโดดขึ้น

52.2.3 การฟาล์วเสียสิทธิ์ทั้งหมดจะบันทึกตามที่อธิบายใน ข.8.3 และจะไม่บันทึกเป็นฟาล์วทีม 1 ครั้ง

52.2.4 บทลงโทษทั้งหมดที่เกิดขึ้น ก่อนที่ผู้เล่นสำรองและผู้ติดตามทีมออกจากบริเวณที่นั่งของทีมจะต้องดำเนินการด้วย
ตามกติกาข้อ 56 (สถานการณ์พิเศษ)

53.1 ผู้ตัดสินแต่ละคนมีอำนาจที่จะขานฟาล์วได้อย่างอิสระจากเหตุการณ์อื่น ที่ใดเวลาใดเวลาใดก็ได้ระหว่างเกมการแข่งขันไม่ว่า
จะเป็นบอลดีหรือบอลตาย

53.2 การฟาล์วของสมาชิกอาจจะขานต่อทีมใดหนึ่งหรือทั้ง 2 ทีม ไม่คำนึงถึงบทลงโทษ การฟาล์วจะบันทึกลงในใบบันทึกคะแนน
ต่อผู้ที่ละเมิดสำหรับการฟาล์วแต่ละครั้ง

54.1 ผู้เล่นซึ่งกระทำฟาล์วครั้งที่ 5 ไม่ว่าจะเป็นฟาล์วบุคคลและ/หรือฟาล์วเทคนิค จะต้องรับรู้ข้อเท็จจริงนั้น
ต้องออกจากเกมการแข่งขันทันทีและเปลี่ยนตัวผู้เล่นภายในเวลา 30 วินาที

54.2 การฟาล์วโดยผู้เล่นซึ่งกระทำฟาล์วครั้งที่ 5 จะขามเป็นฟาล์วเทคนิคต่อผู้ฝึกสอน และบันทึกด้วยตัวอักษร “B”
ลงในใบบันทึกคะแนน

55.1 คำจำกัดความ

55.1.1 เมื่อทีมกระทำฟาล์วครบ 4 ครั้ง ซึ่งเป็นฟาล์วบุคคลหรือฟาล์วเทคนิคต่อผู้เล่นแต่ละคนของทีม จะได้บทลงโทษการฟาล์วทีม

55.1.2 การฟาล์วทีมทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างพักการแข่งขันจะพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งในการฟาล์วของช่วงการเล่น
หรือช่วงต่อเวลาพิเศษที่ตามมา

55.1.3 การฟาล์วทีมทั้งหมดที่กระทำในแต่ละช่วงต่อเวลาพิเศษจะพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งในการฟาล์วของช่วงการเล่นที่ 4

55.5 กฎ

55.2.1 เมื่อทีมได้บทลงโทษในการฟาล์ว ทีมที่ตามมาทั้งหมด ผู้เล่นกระทำฟาล์วบุคคลต่อผู้เล่นซึ่งไม่อยู่ลักษณะกำลังยิงประตู
บทลงโทษจะเป็นการโยนโทษ 2 ครั้ง แทนการส่งบอลเข้าเล่น

55.2.2 ถ้ากระทำฟาล์วบุคคลโดยผู้เล่นของทีมครอบครองบอลดี หรือของทีมที่ได้สิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่น
การกระทำฟาล์วนั้นจะไม่มีการโยนโทษ 2 ครั้ง

56.1 คำจำกัดความ
ในช่วงเวลาเดียวกันหยุดเวลาการแข่งขันซึ่งผลมาจากการฟาล์วหรือการทำผิดระเบียบ สถานการณ์พิเศษอาจเกิดขึ้น
ได้เมื่อมีการกระทำฟาล์วเกิดขึ้น

56.2 วิธีการปฏิบัติ

56.2.1 จะขานเป็นฟาล์วทั้งหมด และระบุบทลงโทษ

56.2.2 จัดเรียงลำดับการฟาล์วทั้งหมดที่เกิดขึ้น

56.2.3 บทลงโทษที่เท่ากันของทั้ง 2 ทีม และบทลงโทษการฟาล์วคู่จะยกเลิก
เมื่อใดก็ตามบทลงโทษที่ยกเลิกให้พิจารณาเป็นเสมือนไม่เคยเกิดขึ้น

56.2.4 การครอบครองบอลที่เป็นส่วนหนึ่งของบทลงโทษครั้งสุดท้ายยังคงอยู่ จะตัดสินใจยกเลิกทุก ๆ ครั้ง
ต้องก่อนการครอบครองบอล และก่อนถูกปรับผลการแข่งขัน

56.2.5 การคงอยู่ของบทลงโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว หรือในการส่งบอลเข้าเล่น
ในขณะนั้นบทลงโทษไม่สามารถใช้ยกเลิกบทลงโทษอื่นได้

57.1 คำจำกัดความ

57.1.1 การโยนโทษเป็นการให้โอกาสผู้เล่นทำคะแนน 1 คะแนน โดยไม่มีการป้องกัน จากตำแหน่งหลังเส้นโยนโทษและอยู่ภายใน
ครึ่งวงกลม

57.1.2 การโยนโทษเป็นชุด เป็นผลทำให้ต้องโยนโทษทั้งหมดจากบทลงโทษของ การฟาล์วครั้งเดียว

57.1.3 การโยนโทษและการกระทำอื่นที่มีผลต่อการโยนโทษสิ้นสุดเมื่อลูกบอล
- ลงห่วงประตูโดยตรงจากด้านบนและค้างอยู่ภายในหรือผ่านห่วงประตูลงมา
- ไม่มีโอกาสลงห่วงประตูโดยตรงหรือภายหลังที่ลูกบอลถูกห่วง
- ไม่มีโอกาสลงห่วงประตูโดยตรงหรือภายหลังที่ลูกบอลถูกห่วง
- ถูกผู้เล่นภายหลังจากถูกห่วงแล้ว
- ถูกพื้นสนาม
- เป็นบอลตาย

57.1.4 ภายหลังจากลูกบอลถูกห่วงและถูกลูกบอลอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นฝ่ายรุกหรือฝ่ายรับก่อนที่ลูกก่อนที่ลูกบอลลงห่วงประตูจาก
การโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว เป็นความพยายามเปลี่ยนสถานภาพของลูกบอลและกลายเป็น 2 คะแนน

57.2 เมื่อขานฟาล์วบุคคล และบทลงโทษเป็นการโยนโทษ

57.2.1 ผู้เล่นซึ่งถูกกระทำฟาล์ว จะเป็นผู้โยนโทษ

57.2.2 จะต้องโยนโทษก่อนออกจากเกมการแข่งขันถ้ามีการร้องขอเปลี่ยนตัวกับผู้โยนโทษ

57.2.3 ถ้าผู้เล่นที่ถูกกำหนดให้โยนโทษต้องออกจากเกมการแข่งขันเพราะบาดเจ็บ กระทำฟาล์วครั้งที่ 5
หรือฟาล์วเสียสิทธิ์ผู้เล่นสำรองที่เปลี่ยนตัวเข้ามาแทนต้องโยนโทษแทน ถ้าไม่มีผู้เล่นสำรองเหลืออยู่เลย
อาจจะให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งเป็นผู้โยนโทษแทนซึ่งกำหนดโดยหัวหน้าทีม

57.3 เมื่อขานฟาล์วเทคนิค การโยนโทษอาจจะโยนโทษโดยผู้เล่นของทีมฝ่ายตรงข้ามที่กำหนดโดยหัวหน้าทีม

57.4 ผู้โยนโทษ (The free throw shooter)

57.4.1 จะต้องอยู่ในตำแหน่งหลังเส้นโยนโทษและอยู่ภายในครึ่งวงกลม

57.4.2 อาจจะใช้วิธีการยิงประตูแบบใดก็ได้ แต่การโยนโทษต้องให้ลูกบอลลงห่วงประตูจากข้างบนหรือถูกห่วงโดยปราศจาก
การถูกพื้นสนาม

57.4.3 จะต้องปล่อยลูกบอลภายใน 5 วินาที จากเวลาที่รับลูกบอลที่ส่งให้โดยผู้ตัดสิน

57.4.4 จะต้องไม่เหยียบเส้นโยนโทษเข้าไปในเขตโยนโทษจนกว่าลูกบอลลงห่วงประตูหรือถูกห่วง

57.4.5 จะไม่มีการหลอกคู่ต่อสู้ให้หลงทางในการโยนโทษ การละเมิดกติกาข้อ 57.4 เป็นการทำผิดระเบียบ

57.4.6 บทลงโทษ
ถ้ากระทำโทษผิดระเบียบโดยผู้โยนโทษ กระทำผิดระเบียบโดยผู้เล่นคนอื่นก่อน ในเวลาเดียวกันหรือภายหลังการโยนโทษ
จะมองข้ามและไม่ให้คะแนนนับ ให้ลูกบอลกับฝ่ายตรงข้ามสำหรับส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามตามแนวเส้นโยนโทษ
เว้นแต่จะมีการโยนโทษอื่นเพิ่มเติม

57.5 ผู้เล่นที่ยืนในช่องยืน (The player in the lane places)

57.5.1 การยืนในช่องยืน (Occupation of the lane places)
- ผู้เล่นสูงสุด 5 คน (ฝ่ายรับ 3 คน และฝ่ายรุก 2 คน) อาจจะยืนในช่องยืน ซึ่งมีความลึก 1 เมตร
- ในช่องยืนที่ 1 ทั้ง 2 ด้านของเขตกำหนดเวลา 3 วินาที จะยืนเฉพาะผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับผู้โยนโทษ
- ผู้เล่นจะยืนสลับตำแหน่งกัน ซึ่งจะยืนเฉพาะช่องที่เขามีสิทธิ์เท่านั้น

57.5.2 ผู้เล่นทุกคนที่ยืนในช่องยืนจะต้องไม่กระทำ

57.5.2.1 ไม่ยืนในช่องยืนที่เขาไม่มีสิทธิ์

57.5.2.2 ไม่เข้าไปในเขตกำหนดเวลา 3 เดือนวินาที เขตปลอดผู้เล่น หรือออกจากช่องยืน จนกว่าลูกบอลจะหลุดออก
จากมือของผู้โทษ

57.5.2.3 ไม่ถูกลูกบอลในขณะที่ลูกบอลลอยไปที่ห่วงประตู ก่อนลูกบอลจะถูกห่วง หรือเป็นที่แน่ชัดว่าลูกบอลไม่ถูกห่วงประตู

57.5.2.4 ไม่ถูกห่วงประตู หรือกระดานหลังในขณะที่ลูกบอลกลิ้งอยู่บนห่วงระหว่างการโยนโทษ

57.5.2.5 ไม่ถูกลูกบอล ห่วงประตู หรือกระดานหลัง ตราบใดที่ลูกบอลมีโอกาสเข้าห่วงประตูระหว่างการโยนโทษซึ่งตาม
ด้วยการโยนโทษอื่น

57.5.2.6 ยื่นแขนผ่านทะลุห่วงประตูจากด้านล่างและไปถูกลูกบอล

57.5.2.7 เคลื่อนออกจากตำแหน่งในช่องยืนเมื่อใดก็ตามที่เป็นบอลดีสำหรับการโยนโทษ จนกว่าลูกบอลจะหลุดจากมือผู้โยนโทษ

57.5.3 ฝ่ายตรงข้ามของผู้โยนโทษจะต้องไม่กระทำ :

57.5.3.1 รบกวนผู้โยนโทษโดยการกระทำอื่น ใด

57.5.3.2 ถูกลูกบอลหรือห่วงประตูในขณะที่ลูกบอลอยู่ภายในห่วงประตู

57.5.3.3 กระดานหลังหรือห่วงสั่นแกว่งไปมาในขณะที่ลูกบอลลอยอยู่กลางอากาศ ในการพิจารณาของผู้ตัดสิน
ถือว่าเป็นการขัดขวางลูกบอลลงห่วงประตู การละเมิดกติกาตามข้อ 57.5 เป็นการทำผิดระเบียบ

57.5.4 บทลงโทษ (Penalty)

57.5.4.1 ถ้าโยนเป็นผลและมีการละเมิดโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งในช่องยืน ตามกติกาข้อ 57.5.1, 57.5.2.1, 57.5.2.2, 57.5.2.7
หรือ 57.5.3.1 เป็นการทำผิดระเบียบจะมองข้ามและให้คะแนนนับ

57.5.4.2 ถ้าการโยนโทษไม่เป็นผลและเป็นการละเมิด ตามกติกาข้อ 57.5.1, 57.5.2.1, 57.5.2.7 หรือ 57.5.3.1 โดย:
- เพื่อนร่วมทีมของผู้โยนโทษ : ให้ฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามตามแนวเส้นโยนโทษ
- ฝ่ายตรงข้ามของผู้โยนโทษ : ให้ผู้โยนโทษได้โยนใหม่
- ผู้เล่นทั้งสองฝ่าย : เกมการแข่งขันจะเริ่มด้วยการส่งบอลเข้าเล่นตามกติกา

57.5.4.3 ถ้าการละเมิด ตามกติกาข้อ 557.5.2.3, 57.5.2.4, 57.5.2.5, 57.5.2.6, 57.5.3.2 หรือ 57.5.3.3 โดย
- เพื่อนร่วมทีมของผู้โยนโทษ : ไม่นับคะแนนและฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามจากเส้นโยนโทษ
- ฝ่ายตรงข้ามของผู้โยนโทษ : การโยนโทษจะเป็นผล และนับ 1 คะแนน
- ผู้เล่นทั้งสองทีม : ไม่นับคะแนนและเกมการแข่งขันจะเริ่มด้วยการส่งบอลเข้าเล่นตามกติกา

57.5.4.4 ถ้าเป็นการละเมิด ตามกติกาข้อ 57.5.2.3 โดยฝ่ายตรงข้ามของผู้โยน ระหว่างการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว
การโยนโทษนั้นจะเป็นผลและให้คะแนนนับ 1 คะแนน และขานเป็นฟาวล์เทคนิคต่อผู้เล่นซึ่งกระทำการละเมิด

57.5.4.5 ถ้ามีการโยนมากกว่า 1 ชุด บทลงโทษที่เป็นการส่งบอลเข้าเล่น
จะให้เฉพาะเมื่อเกิดการกระทำผิดระเบียบขึ้นในการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือเพียงครั้งเดียว

57.6 ผู้เล่นทั้งหมดซึ่งไม่ได้ยืนในช่องยืนของการโยนโทษ

57.6.1 จะต้องไม่รบกวนผู้โยนโดยการกระทำอื่นใด

57.6.2 จะยืนอยู่หลังแนวเส้นโยนโทษและหลังเส้นยิงประตู 3 คะแนน จนกว่าลูกบอลจะถูกห่วง หรือการโยนโทษสิ้นสุด
การละเมิดกติกาข้อ 57.6 เป็นการทำผิดระเบียบ

57.6.3 บทลงโทษ (Penalty) ดูกติกาข้อ 57.5.4 ข้างต้น

57.7 ระหว่างการโยนโทษซึ่งตามด้วยการโยนทาอื่นอีกเป็นชุดตามต้องการส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม หรือการส่งลูกกระโดด

57.7.1 ผู้เล่นจะต้องไม่เข้าไปยืนในช่องยืน

57.7.2 ผู้เล่นทุกคนจะยู่หลังแนวเส้นโยนโทษและหลังเส้นยิงประตู 3 คะแนน การละเมิดกติกาข้อ 57.7 เป็นระเบียบ

57.7.3 บทลงโทษ (Penalty) ดูกติกาข้อ 57.5.4 ข้างต้น

58.1 คำจำกัดความ (Definitions)
ผู้ตัดสินอาจแก้ไขข้อผิดพลาดถ้ากติกายังไม่ได้กำหนดและผลที่ตามมาเฉพาะในสถานการณ์นี้เท่านั้น :

58.1.1 ให้โยนโทษ โดยไม่สมควรได้โยนโทษ

58.1.2 อนุญาตให้ผู้เล่นที่กระทำผิดได้โยนโทษ

58.1.3 ไม่ให้โยนโทษตามสิทธิ์

58.1.4 ผู้ตัดสินนับคะแนนผิดพลาดหรือยกเลิกคะแนนผิดพลาด

58.2 วิธีปฏิบัติ (procedure)

58.2.1 การแก้ไขข้อผิดพลาดตามที่กล่าวถึงข้างต้นต้องค้นพบโดยผู้ตัดสิน หรือแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนบอลดีต่อจากบอลตาย
ครั้งแรก หลังจากนาฬิกาเริ่มเดินต่อขากข้อผิดพลาด นั่นก็คือข้อผิดพลาดเกิดขึ้น - ข้อผิดพลาดทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างบอลตาย
บอลดี - ข้อผิดพลาดแก้ไขได้
นาฬิกาเริ่มเดินหรือกำลังเดินอยู่ - ข้อผิดพลาดแก้ไขได้
บอลตาย - ข้อผิดพลาดแก้ไขได้
บอลดี - ข้อผิดพลาดแก้ไขไม่ได้

58.2.2 ผู้ตัดสินอาจหยุดเกมการแข่งขันทันทีที่ค้นพบข้อผิดพลาดและแก้ไขข้อผิดพลาดได้โดยที่ไม่ทำให้ทีมใดทีมหนึ่ง
เสียเปรียบ ถ้าข้อผิดพลาดนั้นพบระหว่างเกมการแข่งขัน โดยผู้บันทึกคะแนนจะต้องรอให้มีบอลตายครั้งแรกก่อนให้
สัญญาณเสียงแจ้งให้ผู้ตัดสินสั่งหยุดเกมการแข่งขัน

58.2.3 คะแนนที่ทำได้ เวลาที่ใช้ไป และกิจกรรมอื่นใดซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนที่พบข้อผิดพลาดจะไม่ยกเลิก

58.2.4 ภายหลังการค้นพบข้อผิดพลาดนั้นแก้ไขได้ :
- ถ้าผู้เล่นเกี่ยวข้องกับการแก้ไขข้อผิดพลาดอยู่ในที่นั่งของทีม หลังจากเปลี่ยนตัวถูกต้องตามกติกา (ไม่ใช่การฟาวล์เสียสิทธิ์
หรือการฟาวล์ครั้งที่ 5) เขาต้องกลับเข้ามาในสนามแข่งขันเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด (ที่จุดที่เขาเป็นผู้เล่นอยู่) เมื่อแก้ไขข้อผิดพลาด
สิ้นสุดแล้ว เขาอาจยังคงอยู่ในเกมการแข่งขันได้ เว้นแต่ได้ร้องขอเปลี่ยนตัวอย่างถูกต้องตามกติกา ซึ่งในกรณีนี้ผู้เล่นคนนั้นอาจจะ
ออกจากสนามก็ได้
- ถ้าผู้เล่นถูกเปลี่ยนตัวเพราะการกระทำฟาวล์ครั้งที่ 5 หรือการฟาวล์เสียสิทธิ์ ผู้ที่เปลี่ยนตัวเข้ามาอย่างถูกต้องตามกติกาต้องเข้าไป
แก้ไขข้อผิดพลาด

58.2.5 ภายหลังแก้ไขข้อผิดพลาดแล้ว เกมการแข่งขันจะเริ่มที่จุดซึ่งได้หยุดไว้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด ให้ลูกบอลกับทีมที่ครอบครองบอล
ในเวลาที่พบข้อผิดพลาด

58.2.6 ข้อผิดพลาดที่แก้ไขนั้นไม่สามารถแก้ไขได้หลังจากผู้ตัดสินได้ลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนน

58.2.7 ข้อผิดพลาดอื่นใดหรือการผิดพลาดของการบันทึกโดยผู้บันทึกคะแนนซึ่งมีผลต่อคะแนน
จำนวนครั้งของการฟาวล์หรือจำนวนครั้งของเวลานอกไม่อาจแก้ไขและอาจแก้ไขได้โดยผู้ตัดสินในเวลาใดก็ได้
ก่อนที่ผู้ตัดสินจะลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนน

58.3 ข้อยกเว้น (Exception)

58.3.1 ถ้าข้อผิดพลาดเป็นการโยนโทษที่ไม่สมควรได้โยนโทษหรือผู้เล่นที่กระทำผิดได้โยนโทษ การโยนโทษที่เป็นผลของ
ข้อผิดพลาดและกิจกรรมทั้งหมดเป็นเหตุ ณ จุดนั้น จะยกเลิกเว้นแต่มีการขานฟาวล์เทคนิค ฟาวล์ผิด วิสัยนักกีฬา
หรือการฟาวล์เสียสิทธิ์ ระหว่างดำเนินการหลังพบข้อผิดพลาด

58.3.2 ถ้าข้อผิดพลาดเป็นผู้เล่นที่กระทำผิดได้โยนโทษหรือไม่ได้โยนโทษตามสิทธิ์ และถ้าไม่เปลี่ยนการครอบครองบอลตั้งแต่ข้อ
ผิดพลาดเกิดขึ้นเกมจะเริ่มหลังจากการแก้ไข้ข้อผิดพลาดภายหลังการโยนโทษตาม ปกติ

58.3.3 ถ้าข้อผิดพลาดเกิดจากไม่ได้โยนโทษตามสิทธิ์ ข้อผิดพลาดจะมองข้าม เมื่อได้คะแนนหลังจากข้อผิดพลาดได้แก้ไขแล้ว
ให้ทีมเดิมครอบครองบอล


credit by Sangnho_7
ที่มา : http://www.kruchai.net/Rule_bas.htm#a013